วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ

ประเพณีผีตาโขน  การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับ สู่เมือง บรรดาผีป่าและสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และ นางมัทรีกลับเมือง ซึ่งเรียกกันว่า "ผีตามคน หรือผีตาโขน" ช่วงเวลาการละเล่น คือช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี

พิธีกรรม 

     เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขน เป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า "งานบุญหลวง" จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผี ตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรัก และงาน บุญต่างๆ เข้า มาผสมอยู่รวมๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

วันแรก  เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาส บริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด (พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำ ขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อัญเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลง
ไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหิน ก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พานแล้วนำขบวน
กลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่
นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆ ก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำเข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแหล่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัว หรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง

วันที่สอง  เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตาม ด้วยเจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้านและเหล่าผีตา โขนเดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกาย ผีตาโขนใหญ่ออกให้หมด และนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยาก และสิ่งเลว ร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่

วันที่สาม  เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆ ของปี มารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชน จะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต

     งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดี งาม ที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ผีตาโขนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ผีตาโขนใหญ่
  2. ผีตาโขนเล็ก

ผีตาโขนใหญ่  จะสานมาจากไม้ไผ่ มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่า แล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ใน การทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัว คือ ชาย 1 ตัว และหญิง อีก 1 ตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่ จะต้องได้รับอนุญาต จากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาตแล้ว ต้องทำผีตาโขนใหญ่ ทุกๆ ปี หรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี เพราะว่าคนที่ไม่ได้รับ อนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่
ในตัวหุ่น

ผีตาโขนเล็ก  ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็ก เพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อน ข้างผาดโผน ผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม การแต่งกายของผู้ที่เข้า ร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผี ปีศาจ ที่สวมศีรษะ ด้วยที่นึ่งข้าวเหนียว หรือที่เรียกว่า "กระติ๊บข้าวเหนียว" นั่นเอง และ ใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำ เพลงกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่

     การละเล่นผีตาโขน นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการ นำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการ เจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวด ให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน

    อุปกรณ์ในการละเล่นมี 2 ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่า ทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วน มากจะใช้ผู้ชายแสดง เนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อยๆ จึงไม่ เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญ หลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมือง เพื่อโชว์
ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น