วัฒนธรรมเกี่ยวกับที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

     ในภาคอีสานมีลักษณะทำการเกษตรแบบยังชีพ (subsistence) เป็นส่วนมา คือทำการเกษตรเพื่อที่จะนำผลิตผลมาบริโภคในครัว เรือนของตน เช่น ปลุกข้าวไว้กิน, ปลูกฝ้ายไว้ทอผ้า เลี้ยงไหมไว้ ทอผ้า เป็นต้น การเกษตรส่วนใหญ่จะเน้นที่ การทำนา เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนายังคงใช้แรงงานจากคนและสัตว์อยู่ บริเวณปลูกข้าวที่ สำคัญคือที่รายลุ่มแม่น้ำ เกษตรกรยังมีการใช้แรงงานไม่เต็มที่ตลอด ปี ในช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงที่ทำงานไม่เต็มที่มากที่สุดเลยต้องย้ายเข้า
กรุงเพื่อไปหางานที่นั้นแทน

    ปัจจุบันมีการตื่นตัวที่จะปลูกพืชเงินมาก ขึ้นโดยใช้ที่ดอนหรือถากถางป่าโคก เพื่อเพราะปลูก ทั้งนี้เพราะ
ตลาดมีความต้องการมากขึ้น ดังนั้นภาคอีสานจึงกลังประสบปัญหาป่าไม้ถูกบุกรุกภาคอีสานมีการพัฒนาชล
ประทานมากขึ้น โดยมีการพัฒนาชลประทานแบบอ่างเก็บน้ำมากที่สุด อ่างเก็บน้ำเล็กๆที่สร้างขึ้น มากกว่า 100 แห่ง แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเพราะยังมีพื้นที่อีกจำนวนมากที่อยู่นอกเขตชลประทาน ดังนั้น
รัฐบาลกำลังหาลูทางที่จะพัฒนาน้ำบาดาลออกมาใช้ในการเกษตรขนาดย่อมและเพื่อบริโภคภาคอีสานมีพื้น ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์กว้างขวาง จึงทำให้ราษฎรได้รับผลตอบแทนที่ต่ำมาก ในภาคอีสานมีการเลี้ยง
สัตว์แบบพื้นเมืองเป็นส่วนมาก คือ จะเลี้ยงโคกระบือเป็นฝูงเล็กๆ ปล่อยให้หากินหญ้าตามไร่นา

    ทรัพยากรธรรมชาติของอีสานทรัพยากรแร่ธาตุที่ปรากฏอยู่ในทุกจังหวัดของอีสานคือ เกลือหิน ซึ่งสะสม
อยู่ในดินชั้นล่าง แต่การขุดมาใช้งานยังไม่ได้ทำกันเลยและแร่เหล็ก, แมงกานีส, ยิบซัม, สังกะสี, ตะกั่ว,ทอง
แดง ในจังหวัดเลยทรัพยากรป่าไม้ของภาคอีสาน จะมีป่าดงดิบในบริเวณภูเขาและลุ่มน้ำและต่างๆ ที่ความ ชุ่มชื่นมาก เช่นป่าแถบจังหวัดเลย, ข่อนแก่น, นครพนม, สกลนคร, นครราชสีมา และอีกหลายจังหวัดที่มีภู เขา ป่าเหล่านี้ถูกบุกรุกทำลายอย่างหนัก เพื่อที่จะทำเป็นที่เพราะปลูกและนำไม้ออกมาใช้ส่วนป่าแดง,ป่า
แพะ, หรือป่าโคกหรือป่าเต็งรัง มีมากถึง 70-80 % ของพื้นที่ต่างๆ ในภาค ซึ่งป่าชนิดนี้จะเจริญเติบโตเร็ว ในบริเวณที่เป็นดินทราย, ดินกรวด, ดินลูกรัง, ซึ่งเป็นดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์และแห้งแล้งในฤดูแล้ง ลักษณะ
ของป่าชนิดนี้จะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็กถึงปานกลาง ไม้มีค่าของป่านี้คือ ไม้เต็ง, รัง, ประดู่, พลวง และพื้นล่างของป่าจะมีหญ้าขึ้นแซมทั่วไปป่าชนิดนี้ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการโค่นถางทำลายเพื่อใช้งานเป็น ที่เพราะปลูก

     จากการเลี้ยงไหมจึงมีการทอผ้าอีด้วยผ้าภาคอีสานชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลัง
จากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือนโดย ผู้หญิง ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการ ทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการ เตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาวทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัด ถึงความเป็นกุลสตรีเป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลายเพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วย ฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
  2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงานงานฟ้อนรำผ้าที่ทอจึงมัก มีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดารมีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อนบางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกันเนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม