อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

 

Homeผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีพลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมีกลไกของปฏิกิริยาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีกฏอัตราแบบทดสอบหลังเรียน

 

สูตรคำนวณ 
แบบฝึกปฏิบัติที่ 1 
เฉลยแบบฝึกปฏิบัติที่1  

 

anigreen11_next.gifความหมายanigreen11_back.gif  


      อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารต่อหนึ่งหน่วยเวลา เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี ปริมาณของสารตั้งต้นลดลงส่วนสารผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น  การเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์กับเวลาแสดงได้ดังรูป

                               

       อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  มี  2 แบบ  คือ                                                                                                                                         1. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเฉลี่ย   คือ  ค่าที่แสดงถึงการลดลงของสารตั้งต้นหรือการเพิ่มขึ้นของสารผลิตภัณฑ์   ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดปฏิกิริยาต่อหนึ่งหน่วยเวลา  
                       
2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง   คือค่าที่แสดงถึงการลดลงของสารตั้งต้นหรือการเพิ่มขึ้นของสารผลิตภัณฑ์ ณ  เวลาใดเวลาหนึ่งขณะที่ปฏิกิริยากำลังดำเนินอยู่
                       ในปฏิกิริยาหนึ่ง ๆ จะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ยเพียงค่าเดียว แต่อัตราการเกิดปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง มีได้หลายค่า  เมื่อเวลาผ่านไป ๆ  อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีช้าลง ๆ  เสมอ  

                       

 

 flower_wind_1.gif

 


จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม  2548

จัดทำโดยครูออน
โรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา  ตำบลนาหนัง  อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย  เขต 2
Copyright(c) 2004 Mrs.Ornuma  Bowonsak. All right reserved