![]() |
|
|
เครื่องจักรไอน้ำให้มีขนาดเล็ก คนอังกฤษชื่อ " ริชาร์ด เทรวิธิค " เป็นคนแรกที่คิดประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาลงจนพอที่จะติด ตั้งบนรถทำให้รถแล่นไปได้เอง โดยไม่ต้องใช้คนหรือสัตว์ลาก รถที่เทรวิธิคนำเครื่องจักรไอน้ำไปติดบนรถจนทำให้แล่นไปบนรางได้นั้ย ได้รับการยกย่องว่าเป็นรถจักรรถไฟคันแรกของโลก ซึ่งใช้รากจูงขบวนรถไฟที่บรรทุกทั้งคนและของไปโดยไม่ต้องหยุดตลอดความยาวรางระยะทาง 9 มล์ในวันที่ 13 ก.พ.1804 รางที่วางไว้ให้ขบวนรถไฟแล่นไปได้นั้น มีอายุมานานก่อนรถไฟกว่า 200 ปี และเป็นตัวอย่างอันดีให้เห็นความพยายามคิดค้นหาสิ่งที่ดีกว่าตลอดมานั้น เป็นผลดีแก่โลกมนุษย์ของเรา เมื่อ400ปีมาแล้วเป็นยุคแห่งความเจริญทางอุตาหกรรมซึ่งอาศัยถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ประเทศอังกฤษเจริญรวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในครั้งนั้น เพราะมีถ่านหินอยู่มากมายในภาคเหนือของประเทศ ซึ่งมีการขุดและส่งไปใช้ในที่อื่นๆซึ่งไม่มีด้วย การขนถ่านหินจากเหมืองไปลงเรือเพื่อ่งไปที่ต่างๆนั้น ขั้นแรกก็ใช้รถที่รากด้วยม้า ซึ่งปรากฎว่ารถบรรทุกถ่านหินหนักๆมักจะติดหล่มจมโคลนทำให้เสียเวลาและเพิ่มค่าใช้จ่ายมากในการซ่อมบำรุงทางให้รถม้าแล่นได้ จึงมีผู้คิดนำท่อนไม้ไปรองล้อรถไว้ไม่ให้จมดินตอนที่เป็นหล่มเป็นหลุม และต่อมาจึงมีผู้คิดนำไม้มาต่อกันเข้าให้ยาวตลอดทาง เพื่อให้รถแล่นได้สะดวก รางที่ทำด้วยไม้นี้ชำรุดเร็ว ทำให้รถตกรางบ่อยๆ จึงใช้เหล็กยาวๆวางแทนไม้ รางเหล็กจึงใช้กันแพร่หลายใน ค.ศ. 1740 แม้จะเปลี่ยนมาใช้รางเหล็กที่ทนทานกว่าแล้ววล้อรถก็ยังพลาดตกรางอยู่บ่อยๆจึงมีผู้ทำรางที่มีขอบอยู่ข้างๆกันม่ให้ล้อรถพลาดตกรางง่ายๆ ต่อมามีผู้คิดขึ้นมาได้ว่าทำไมจะต้องเอาขอบกันล้อรถไปไว้บนรางตลอดทางให้สิ้นเปลือง เอาขอบอย่างที่ว่ามาติดว้บนล้อรถก็หมดเรื่อง ล้อรถที่แล่นบนรางจึงมีขอบอยู่ข้างหนึ่งมาตั้งแต่นั้น รถฟที่เทรวิธิคทำขึ้นจึงมราล้อที่มีขอบอยู่ข้างหนึ่งเช่นเดียวกับรถไฟทุกวันนี้ เทรวิธิคออกแบบสร้างรถจักรไอน้ำที่ใช้งานได้ดีอีกหลายสิบคัน แต่เขาไม่มีหัวทางธุรกิจ ไม่พยายามนำสิ่งประดิษฐ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น คงใช้รถจักรในการขนถ่านหินในงานเหมืองแร่อย่างเดียว เขาเคยนำขบวนรถไฟมาต่อเข้าให้แล่นเป็นวงกลมไปรอบๆ เพื่อเก็บเงินจากคนดูแต่ไม่ได้รับความสำเร็จ กลายเป็นคนล้มละลายต้องร่อนเร่ไป จนสุดท้ายเสียชีวิตที่ลอนดอนอย่างที่เพื่อนๆต้องเรี่ยไรกันซื้อโลงศพให้
|
คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่
ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่
8 กันยายน พ.ศ. 2545 Copyright(c) 2002 waleethip. All rights reserved. |