อาหารของหญิงมีครรภ์
อาการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มักเกิดขึ้นในระยะที่มีครรภ์ได้แก่
คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบบ่อยในระยะที่มีครรภ์
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เรียกว่าการแพ้ท้อง
อาการแพ้นี้แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน อาการแพ้จะเริ่มในเวลาเช้า
และเป็นอยู่ในระยะ 2-3 เดือนแรก บางครั้งอาจแพ้ในตอนเย็น
เพราะร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงาน อาการแพ้อาจบรรเทาได้โดยการทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว
ท้องผูก พบในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด เพราะทารกโตขึ้น
และกดทับลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อย ประกอบกับการทานอาหารที่มีกากอาหารน้อยและออกกำลงกายน้อย
วิธีแก้ไขคือ ให้กินผักผลไม้และดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายด้วยการเดิน
ทำงานหนักจนเกินไป
ระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากมีฮอร์โมนบางชนิดเปลี่ยนแปลง
ทำให้กระเพาะลำไส้มีการเคลื่อนไหวช้าลง และกรดน้ำย่อยในกระเพาะมีน้อยลง
ทำให้มีอาการท้องอืด คลื่นไส้ บางครั้งมีอาการแสบยอดอก
เพราะมีการย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะเข้าสู่หลอดอาหารบริเวณที่ติดกับกระเพาะ
การน้ำหนักเพิ่ม ในระยะมีครรภ์ 3 เดือนแรก น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเพียง
1-2 กิโลกรัม เนื่องจากระยะนี้เป็นระยะที่มีการสร้างเนื้อเยื่อของแม่
และอวัยวะของทารกมากกว่าการเติบโตด้านขนาด หลังจาก 3 เดือนแล้ว
น้ำหนักตัวแม่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อเดือนจนถึงคลอด
หญิงมีครรภ์ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากจนเกินไป โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานมาก
หญิงมีครรภ์ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นเพราะ
สร้างอวัยวะต่างๆของทารก
สร้างเนื้อเยื่อของแม่ เช่น สร้างรก เลือด การขยายตัวขงมดลูก
การขยายตัวของต่อมน้ำนม
การทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ หัวใจ ตับ ไต ต่อมไร้ท่อ
สารอาหารที่ต้องการในระหว่างมีครรภ์
โปรตีน ต้องการโปรตีนมากขึ้นกว่าปกติ เพราะใช้ในการสร้างเซลล์
ของแม่และทารก
สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต
ไขมัน ความต้องการพลังงานจะสูงที่สุดในช่วงระยะ 3 เดือนก่อนคลอด
เพราะเป็นระยะที่ทารกเติบโตสูงมาก
เกลือแร่ ได้แก่
-
แคลเซียม เพื่อใช้ในการสร้างกระดูกและฟันของทารก ความต้องการแคลเซียมจะเพิ่มมากขึ้นในเดือนที่
4 และจะเพิ่มสูงสุดในระยะก่อนคลอดเพราะต้องใช้ในการสร้างนมให้ทารก
-
เหล็ก เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ร่างกายต้องสะสมเหล็กสำหรับแม่ในระหว่างการคลอดและสำหรับทารกหลังคลอด
-
ไอโอดีน ในระหว่างตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะทำงานมากขึ้น
ทำให้ร่างกายต้องการไอโอดีนมากขึ้น เพราะไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนไทรอคซิน
ซึ่งผลิตโดยต่อมไทรอยด์ การที่แม่ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ
จะทำให้แม่เป็นโรคคอพอก และมีผลถึงทารกด้วย คือ ทำให้ทารกตัวเล็ก
แคระแกร็น มีสติปัญญาต่ำ
-
วิตามิน ที่จำเป็นต้องได้รับมากขึ้นคือ วิตามินบี1 วิตามินบี2
ไนอะซิน วิตามินบี12 วิตามินเอ ดี อี เค
อาหารและปริมาณอาหารที่หญิงมีครรภ์ควรได้รับ
เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ หอย ปลา
ฯลฯ ควรได้รับวันละประมาณ 3/4 ถ้วยตวง
ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ควรกินวันละ 1 ฟอง ไข่นอกจากจะให้โปรตีนแล้ว
ยังมีเหล็กและวิตามินเอมากด้วย
น้ำนม มีโปรตีนและแคลเซียมสูง ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 1
แก้ว
ถั่วเมล็ดแห้ง ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ฯลฯ ควรได้รับวันละประมาณ
1/2 ถ้วยตวง
ข้าวหรือแป้ง ให้พลังงาน ควรได้รับทุกวัน วันละ3-4ครั้ง
ครั้งละ 1 1/2-2 ถ้วยตวง ถ้ากินข้าวซ้อมมือก็จะช่วยให้ได้รับวิตามินบี1เพิ่มขึ้น
น้ำตาล ให้พลังงาน ควรกินแต่พอควรเพื่อไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็ว
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ความหวานจัด
ผัก ควรกินผักวันละ 2-3ครั้ง ครั้งละประมาณ 1/2-1ถ้วยตวง
การกินผักนอกจากจะทำให้ได้เกลือแร่แล้ว จะทำให้การขับถ่ายดีด้วย
ผลไม้ ควรกินผลไม้สดทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อได้รับวิตามินซี
ไขมัน ควรได้รับไขมันทุกวัน เพื่อให้วิตามินที่ละลายในน้ำมันดูดซึมได้ดี
แต่ไม่ควรกินอาหารที่มีน้ำมันมาก เช่น ข้าวเกรียบ บ่อยเกินไป
เพราะให้พลังงานมากเกินไป ทำให้ได้รับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
อาหารที่หญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง
ได้แก่ น้ำชา กาแฟ อาหารรสเผ็จัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด และอาหารใส่ผงชูรส
อาหารของหญิงให้นมบุตร
ในระยะ
3 เดือน ทารกจะได้รับนมแม่เป็นอาหารหลัก การเจริญเติบโตของทารกขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของน้ำนม
ดังนั้นในระยะนี้ แม่จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารให้เพียงพอ
เพื่อ
ใช้ในการผลิตน้ำนมสำหรับทารก
ให้มีพลังงานเพียงพอที่จผลิตน้ำนมสำหรับทารก
เสริมสร้างสุขภาพของแม่ให้สมบูรณ์
สารอาหารที่ต้องการระหว่างให้นมบุตร
โปรตีน เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมให้ทารก และเพื่อซ่อมแซมเซลล์ต่างๆของแม่ที่ญเสียไปในระหว่างคลอด
หากระยะนี้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายเอาโปรตีนจากเนื้อเยื่อต่างๆมาผลิตน้ำนม
ทำให้แม่มีสุขภาพร่างกายทรุดโทรม เติบโตช้า น้ำหนักทารกเพิ่มขึ้นน้อย
เติบโตช้า ดังนั้นเพื่อให้ได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ หญิงให้นมบุตรควรได้รับโปรตีนมากกว่าภาวะก่อนมีครรภ์
20 กรัม และควรเป็นโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์
สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
แม่จำเป็นต้องได้รับพลงงานมากขึ้นเพื่อเป็นพลังงานในการผลิตน้ำนม
หญิงที่ให้นมบุตรควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติ 1000
แคลอรี ไม่ควรทานอาหารหวานเกินไป และอาหารที่มีไขมันมากเกินไป
วิตามิน ได้แก่
-
วิตามินเอ เป็นส่วนประกอบสำคัญในน้ำนมแม่ ในวันหนึ่งร่างกายจะผลิตน้ำนม
600-850 มิลลิลิตร ดงนั้นหญิงให้นมบุตรควรได้รับวิตามินเอมากขึ้นเป็นวันละ
4000 หน่วยสากลต่อวัน
-
วิตามินดี ควรได้รับวันละ 400 หน่วยสากล ใช้ในการสร้างน้ำนมให้ทารก
-
วิตามินเค หากวิตามินเคในน้ำนมของแม่ต่ำ จะส่งผลให้ทารกขาดวิตามินเค
-
วิตามินบี1 หากทารกขาดวิตามินบี1 จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา
หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
-
วิตามินบี2 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในน้ำนมแม่ ควรได้รับเพียงพอ
คือ ประมาณ 101 มิลลิกรัม
-
วิตามินซี เพื่อให้นมแม่มีวิตามินซีเพียงพอสำหรับทารก
เกลือแร่ ได้แก่
-
เหล็ก มีการขาดมากในหญิงที่ให้นมบุตร เนื่องมาจากการสูญเสียเลือดในระหว่างการคลอดและได้รับธาตุเหล็กชดเชยไม่เพียงพอ
ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง มีความต้านทานโรคต่ำ ดังนั้นจึงควรได้รับธาตุเหล็กอย่างน้อยวันละ
26 มิลลิกรัม
-
แคลเซียม ต้องการมากขึ้นในการสร้างน้ำนมให้ทารก ความต้องการแคลเซียมจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการหลั่งของน้ำนมแม่
ใน3เดือนแรกหลังคลอดบุตร จะต้องการแคลเซียมวันละ 1200
มิลลิกรัม
-
ไอโอดีน ควรได้รับไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม เพื่อให้น้ำนมมีไอโอดีน
หากทารกขาดไอโอดีนจะทำให้มีผลต่อสติปัญญา
อาหารและปริมาณอาหารที่หญิงให้นมบุตรควรได้รับ
เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นจากระยะมีครรภ์
30 กรัม รวมเป็น 150-180 กรัม หรือประมาณ 1 ถ้วยตวง
ไข่ หากกินเนื้อสัตว์ไม่เท่าตามที่กำหนด สามารถกินไข่ได้
ควรกินไข่วันละ 1 ฟอง
เครื่องในสัตว์ เป็นอาหารที่ให้โปรตีนและเกลือแร่หลายชนิด
ควรกินประมาณสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
น้ำนม จะเป็นนมสดหรือเป็นนมถั่วเหลืองก็ได้ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ
2 ถ้วยตวง
ถั่วเมล็ดแห้ง หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก็ได้ เพราะให้โปรตีนมากและให้วิตามินบี2
ข้าวและแป้ง เป็นอาหารที่ให้พลังงาน ควรได้รับทุกวัน วันละ
3-4 ครั้ง ครั้งละ 1 1/2 - 2 ถ้วยตวง
ผัก โดยเฉพาะผักสีเขียวและผักสีเหลือง ควรกินผักอย่างน้อยวันละ
1-2 ถ้วยตวง เพราะให้เกลือแร่และช่วยในการขับถ่าย
ไขมัน เพื่อช่วยให้วิตามินที่ละลายในไขมันถูกดูดซึมได้ดีขึ้น
ควรได้รับน้ำมัน(ที่อยู่ในรูปอาหารทอดหรือผัด)วันละ 3-4
ช้อนโต๊ะ
หญิงที่ให้นมบุตรควรกินอาหารให้ครบ
5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบาๆ(อาจเป็นการทำงานบ้าน)
พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
คาเฟอีน อาหารหวานจัด หลีกเลี่ยงยาที่แพทย์ไม่สั่ง
ปัญหาโภชนาการของหญิงให้นมบุตร
มีสาเหตุมาจาก
ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารแสลง
ความเชื่อต่างๆได้แก่ การอดอาหารแสลงในขณะอยู่ไฟ โดยเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์ในระยะนี้จะทำให้แผลช่องคลอดหายช้า
เป็นสาเหตุทำให้แม่เป็นโรคขาดโปรตีนและแคลอรี ปริมาณน้ำนมน้อย
มีผลต่อทารกด้วย
ความยากจน
เพราะอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม จะมีราคาแพง
ทำให้ผู้ที่มีฐานะยากจนไม่สามารถซื้อมาทานได้
นิสัยการกินไม่ดี
อาจคิดว่าการกินอาหารอาหารในระยะนี้จะทำให้อ้วน จึงพยายามลดอาหาร
ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีน้ำนมไม่พอแก่ทารก
ขาดความรู้ด้านโภชนาการ
ทำให้เลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ หลงคำเชื่อโฆษณา
|