ผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึง
ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
สารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการ
พลังงาน
ต้องการพลังงานน้อยลง เพราะการทำงานของร่างกายมีน้อยลง
พลังงานที่ควรได้รับควรน้อยกว่า 1200 แคลอรี
โปรตีน
ควรได้รับวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากได้รับโปรตีนมากเกินไป
ร่างกายจะนำไปสะสมในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน
ไขมัน
ไม่ควรได้รับมากเกินไป เพราะการได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วน
แคลเซียม
ผู้สูงอายุมักเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดในหญิงมากกว่าชาย
การได้รับแคลเซียมเพียงพอจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง ควรได้รับแคลเซียมวันละ
800 มิลลิกรัม
เหล็ก
ควรได้วันละ 6 มิลลิกรัม ควรกินอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินซีด้วย
เพื่อช่วยในการดูดซึมเหล็ก
วิตามิน
ควรได้รับวิตามินซีประมาณ 30 มิลลิกรัม โดยดื่มน้ำส้มคั้นวันละ
1 แก้ว
น้ำ
ควรได้รับวันละ 1 1/2-2 ลิตร โดยเฉพาะวันที่อากาศร้อนสูญเสียเหงื่อมาก
ควรได้รับน้ำเพิ่มขึ้น
อาหารและปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับ
เนื้อสัตว์ ควรได้รับวันละ 120 กรัม ควรเป็นเนื้อปลา
และควรได้รับเครื่องในสัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ไข่ ย่อยและดูดซึมง่าย ควรได้รับสัปดาห์ละ 3-5
ฟอง
น้ำนม มีแคลเซียมเพื่อช่วยในการสร้างกระดูก ควรใช้นมผงที่ไม่มีไขมัน
4 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ 1 ถ้วยตวง หรือดื่มนมถั่วเหลืองแทนก็ได้
ถั่วเมล็ดแห้ง ควรนำมาต้มให้นิ่มก่อนกิน ควรได้รับวันละ
1/2 ถ้วยตวง ควรกินครั้งละน้อยๆ เพราะถ้ากินมากจะทำให้เกิดท้องอืด
ข้าว ควรได้รับวันละ 3-4 ถ้วยตวง
ผัก ควรกินทุกวันเพื่อได้รับวิตามิน และกากอาหารช่วยไม่ให้ทองผูก
ไม่ควรกินผักดิบเพราะมีกากอาหารมากเกินไปย่อยยาก ทำให้ท้องอืดเพราะมีก๊าซมาก
ยกเว้นผักกาดหอมที่กินทั้งดิบๆได้
ผลไม้ ควรกินทุกวันวันละ 1-2 ครั้ง ควรเลือกที่ย่อยง่าย
เคี้ยวง่าย
ไขมัน ไม่ควรกินไขมันมากเกินไป เพราะจะทำให้ท้องอืดและมีน้ำหนักเพิ่ม
ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคมาก ประมาณ 2-2.5 ช้อนโต๊ะ
ปัญหาโภชนาการของผู้สูงอายุ
มีสาเหตุมาจาก
นิสัยการบริโภค
ผู้สูงอายุมักกินอาหารตามความชอบ และชอบอาหารหวานจัด อาจกินอาหารตามประเพณีความเชื่อ
ทำให้ไม่สามารถได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางจิตใจ
ผู้สูงอายุมีความคิดว่าตนไม่มีความสำคัญต่อครอบครัว รู้สึกถูกทอดทิ้ง
เบื่อสิ่งต่างๆ และเบื่ออาหาร ทำให้ไม่ชอบกินอาหาร ส่วนผู้สูงอายุบางคนกินตลอดเวลา
ทำให้เกิดโรคอ้วน
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามีดังนี้
-
ฟันไม่ดีเหมือนเก่า เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ทำให้เคี้ยวอาหารได้น้อยลง
ทำให้ไม่ได้รับโปรตีนและแคลอรีที่เพียงพอ
-
การดูดซึมของสารอาหารลดลง เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ทำให้ขาดสารอาหารดังกล่าว
คือ โรคโลหิตจาง และโรคกระดูกพรุน
-
เซลล์หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น ทำให้หลอดเลือดแข็ง และเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
-
การบีบตัวของลำไส้น้อยลง ประกอบกับการทานอาหารที่มีกากน้อย
และดื่มน้ำน้อย ทำให้เกิดโรคท้องผูก
-
เลือดไหลผ่านไตน้อยลง ทำให้ขับของเสียได้น้อย จึงมีการตกตะกอนของแคลเซียมในไต
ทำให้เกิดโรคนิ่ว
|