ทารก/เด็กวัยก่อนเรียน
Home 
about me 
สารอาหาร 
หลักการซื้ออาหาร 
ศัพท์ในวิชาโภชนาการ 
การย่อยอาหาร 
อาหารของคนในวัยต่างๆ 
โรคที่เกิดจากอาหาร 
รูปภาพ 
Contact me 
[ทารก/เด็กวัยก่อนเรียน][วัยรุ่น][หญิงมีครรภ์][ผู้สูงอายุ]

 เด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน

อาหารสำหรับทารกและเด็กวัยก่อนเรียน

ทารกหมายถึง เด็กที่อยู่ในวัยตั้งแต่เกิดจนถึงอายุหนึ่งขวบ ส่วนเด็กก่อนวัยเรียนหมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่ หนึ่งถึงหกขวบ อาหารสำหรับทารกและเด็กก่อนวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับชีวิตในระยะนี้และระยะต่อไปในปีขวบแรก ทารกจะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 3000 กรัม ทารกที่ได้รับโภชนาการที่ดีจะมีการเพิ่มของน้ำหนัก ดังนี้

bullet02_orange.gifแรกเกิด         หนัก          3   กิโลกรัม

bullet02_pink.gif5 เดือน          หนัก         6   กิโลกรัม           

bullet02_red.gif12 เดือน        หนัก         9   กิโลกรัม          

bullet02_skyblue.gif2 ปี                หนัก         12 กิโลกรัม

bullet03_blue_1.gif5 ปี               หนัก          15 กิโลกรัม

candy.gif

anibilliard_green.gifอาหารสำหรับทารก

berry02_red.gifควรใช้น้ำนมมารดา เพราะมีประโยชน์ดังนี้

    circle03_orange.gif น้ำนมที่มีสีเหลืองมีประโยชน์แก่ทารกมาก เพราะมีโปรตีนและเกลือแร่หลายชนิดสูงกว่าน้ำนมในระยะอื่น และช่วยในการระบายท้องให้ทารก

    circle03_orange.gif การเลี้ยงทารกดวยนมตนเองทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกแน่นแฟ้นขึ้น

    circle03_orange.gif ประหยัดเวลาในการเตรียมนมให้ถูกสัดส่วนและสะอาด

    circle03_orange.gif ประหยัดเงิน

    circle03_orange.gif ปลอดภัยจากเชื้อโรค

    circle03_orange.gif ทารกที่กินนมผสมจะเป็นโรคกระเพาะมากกว่าทารกที่กินนมแม่

แต่ถ้าหากมารดาไม่สามารถให้นมทารกได้จริงๆ และจำเป็นต้องใช้นมผสม ควรปฏิบัติดังนี้

berry02_red_1.gifวิธีเตรียมนม

    circle06_red.gif ล้างเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหมดให้สะอาด แล้วต้มในหม้อมีฝา

    circle06_red.gif ล้างมือให้สะอาดก่อนผสมนม

    circle06_red.gif ใช้น้ำเดือดผสมกับน้ำสุกให้อุ่นสำหรับชงนม

    circle06_red.gif ตวงนมตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ คนให้ละลายทั่วกันแล้วนำไปใส่ขวดนม

berry02_red_2.gifการเก็บนม

    circle06_red.gif นมที่เปิดใช้แล้วต้องปิดฝาให้สนิท

    circle06_red.gif นมที่เหลือต้องนำเก็บในตู้เย็น เมื่อเด็กต้องการกินให้นำขวดมาแช่น้ำอุ่นเพื่อให้มีอุณหภูมิลดลง

berry02_red_3.gifอาหารเพิ่มเติมอื่นๆสำหรับทารก

    circle06_green.gifทารกอายุ 1 เดือน ให้น้ำส้มคั้นที่ไม่เปรี้ยวมากเกินไป 1 ช้อนชา ผสมน้ำสุกเท่าตัว ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนส้มจนถึงประมาณ        ครึ่งผลถึงหนึ่งผล

    circle06_green.gifทารกอายุ 2 เดือน เริ่มให้น้ำมันตับปลาประมาณครึ่งช้อนชา

    circle06_green.gifทารกอายุ 4 เดือน เริ่มให้ข้าวครูดหรือข้าวบด ในตอนแรกให้เพียง 1-2 ช้อนชาแล้วค่อยๆเพิ่มจนถึง 1-2 ช้อนโต๊ะผสมกับ        น้ำต้มกระดูก น้ำต้มตับ น้ำต้มผัก หลังจากนั้นให้น้ำนมตาม เมื่อทารกกินข้าวกับน้ำซุบได้ดีแล้วก็เริ่มให้ไข่แดงต้มสุดบดละเอียด        เริ่มด้วย 1 ช้อนชา และเพิ่มไปเรื่อยๆจนถึงไข่แดงวันละ 1 ฟอง

ข้าวครูดหรือข้าวบด

    circle06_green.gifทารกอายุ 5 เดือน เริ่มให้เนื้อปลาบดละเอียด 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับข้าวและน้ำซุบ

    circle06_green.gifทารกอายุ 6 เดือน ให้อาหารผสมแทนน้ำนม 1 มื้อเริ่มให้ผักต้มบดละเอียดลงไปในข้าวประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ

    circle06_green.gifทารกอายุ 7 เดือน เริ่มให้เนื้อสัตว์ต้มเปื่อยบดละเอียดและตับ1-2ช้อนโต๊ะ และให้ลองกินไข่ขาว ขนมปังกรอบ

    circle06_green.gifทารกอายุ 8 เดือน เริ่มให้อาหารผสมแทนน้ำนม 2 มื้อ และเริ่มให้ของหวานหลังอาหารคาว

    circle06_green.gifทารกอายุ 9 เดือน ให้อาหารเหมือนเมื่ออายุ 8 เดือน และให้เริ่มจับช้อนป้อนข้าวเอง และดื่มน้ำจากถ้วยเอง

    circle06_green.gifทารกอายุ 10-12 เดือน ค่อยๆเพิ่มอาหารผสมแทนน้ำนมทั้ง 3 มื้อ

berry02_red_4.gifการหย่านม(การงดให้นมแม่แก่เด็ก)

ปกติมารดาจะผลิตน้ำนมได้มากที่สุดในช่วงเดือนแรกของการให้นมทารก หลังจากนั้นต่อมน้ำนมจะน้อยลง การให้นมทารกเป็นเวลานานทำให้น้ำนมมีคุณค่าทางอาหารต่ำลง และทำให้ร่างกายมารดาทรุดโทรม จึงควรหย่านมเมื่อเด็กอายุได้ 8-10 เดือน

   สารอาหารที่ทารกต้องการ

    circle03_darkblue.gif พลังงาน ทารกต้องการพลังงานวันละ 100-120 แคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าผู้ใหญ่

    circle03_darkblue.gif โปรตีน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ควรได้รับวันละ 2.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าวัยอื่นๆ

    circle03_darkblue.gif วิตามิน ได้แก่

      - วิตามินเอ ช่วยในการทำงานของเยื่อบุของตา และเยื่อบุผิวหนัง ทารกควรได้รับวิตามินเอวันละ 1000 หน่วยสากล

      - วิตามินดี จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน ควรได้รับวันละ 400 หน่วยสากล

      - วิตามินบี1 ควรได้รับวันละ 0.3 มิลลิกรัม

      - วิตามินบี2 ควรได้รับวันละ 0.4 มิลลิกรัม

      - ไนอะซิน ได้รับอย่างเพียงพออยู่แล้วในน้ำนม ซึงมีปริมาณ 4 มิลลิกรัม

      - วิตามินซี ต้องการวันละ 20 กรัม

      - โฟลาซิน ได้จากผักใบเขียวและตับสัตว์

    circle03_darkblue.gif เกลือแร่ ได้แก่

      - แคลเซียม ต้องการวันละ 400-500 มิลลิกรัม

      - เหล็ก ต้องการประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็ต้องการ2มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว

      - ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนไทรอคซินในระยะ6เดือนแรก ทารกจะต้องการไอโอดีนวันละ 35ไมโครกรัม

    circle03_darkblue.gif น้ำ ควรได้รับวันละ 150 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

candy.gif

anibilliard_red_1.gifเด็กวัยก่อนเรียน

น้ำหนักของเด็กวัยก่อนเรียน สามารถคำนวณได้โดย น้ำหนัก(กิโลกรัม) = 8+[(2)(อายุ)]

ส่วนมากเด็กในวัยนี้จะขาดโปรตีนและแคลอรี

สารอาหารที่ต้องการของเด็กวัยก่อนเรียน

 circle03_mint_1.gif พลังงาน ควรได้รับวันละ 90-100 แคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ควรให้ขนมหวานที่เป็นประโยชน์เพื่อให้ได้รับน้ำตาลซึ่งเป็นพลังงาน

 circle03_mint_1.gif โปรตีน ควรได้รับวันละ 1.3-1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โปรตีนที่ได้รับควรเป็น ไข่ น้ำนม ถั่วเมล์ดแห้ง และเนื้อสัตว์

 circle03_mint_1.gif วิตามิน ได้แก่

    - วิตามินเอ การขาดวิตามินเอเป็นเหตุทำให้เด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียนตาบอด ส่วนใหญ่มาจากการที่มารดาเลี้ยงทารกด้วยอาหารเสริมที่มีวิตามินเอและไขมันน้อย เด็กวัยนี้ควรได้รับวิตามินเอวันละ 850-1000 หน่วยสากล

 circle03_mint_1.gif เกลือแร่ ได้แก่

    - เหล็ก หากขาดเหล็กจะทำให้เด็กเป็นโรคโลหิตจาง เด็กวัยนี้ควรได้รับวันละ 4 มิลลิกรัม

 circle03_mint_1.gif น้ำ ควรดื่มน้ำที่สะอาด หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำผลไม้ น้ำนม แต่ไม่ควรให้ดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ เช่น น้ำหวานหรือน้ำอัดลม

อาหารและปริมาณอาหารที่เด็กวัยก่อนเรียนควรได้รับ

circle07_purple.gif เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 2-4 ช้อนโต๊ะ และควรได้รับเครื่องในสัตว์ด้วย

circle07_purple.gifไข่ ควรได้รับทุกวัน วันละ 1 ฟอง ไข่ให้ทั้งโปรตีนและเหล็ก

circle07_purple.gifน้ำนม ควรได้รับอย่างน้อยวันละ 2 ถ้วยตวง จะใช้นมถั่วเหลืองแทนก็ได้

circle07_purple.gifถั่วเมล็ดแห้ง หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก็ได้ ควรได้รับวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

circle07_purple.gifข้าว ควรได้รับวันละ 2-3 ถ้วยตวง หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของเด็ก

circle07_purple.gifผัก เป็นผักสีเขียวหรือสีเหลืองก็ได้ ควรได้รับวันละ 4-8 ช้อนโต๊ะ

circle07_purple.gifผลไม้ ควรให้เด็กกินทุกวัน เพื่อให้ได้รับวิตามินซี

circle07_purple.gifไขมัน ควรได้รับน้ำมัน(ซึ่งอยู่ในรูปของอาหารผัดหรือทอด)วันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ

 


 
 จำนวนผู้เข้าใช้งาน ตั้งแต่วันที่ 07 ตุลาคม 2545

thaigoodview.com Version 17.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2001 Miss Khassaraporn Monchaiphumiwat. All rights reserved.