|
![]() |
ผักส่วนใหญ่จะมีพลังงานและโปรตีนต่ำ ในผักไม่มีวิตามินเอ แต่มีโปรวิตามินเอ เช่น แคโรทีน ซึ่งมีสีส้มเข้ม เมื่อคนกินเข้าไปแล้ว จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ลำไส้เล็ก โพรวิตามิน เอมีมากในผักใบเขียว ผักสีส้มหรือแดง วิตามินซีมีมากในผักใบเขียว เชเน พริกหยวก มะรุม ฯลฯ นอกจากวิตามินเอและซีแล้ว ผักส่วนใหญ่จะมีวิตามินบี1และไนอะซินน้อย ผักใบเขียวยังให้แคลเซียมและเหล็ก แต่ผักใบเขียวบางชนิดเช่น ผักโขม และใบพลู มีกรดออกซาลิค เมื่อรวมตัวกับแคลเซียมแล้ว จะทำให้แคลเซียมไม่ถูกดูดซึม ผักส่วนใหญ่แทบไม่มีโปรตีนและไขมันเลย คาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในผักได้แก่ แป้ง กลูโคส เซลลูโลส และสารประกอบจำพวกเพคติน เซลลูโลส เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปแล้ว จะไม่สามารถย่อยได้ แต่จะถูกถ่ายออกมาเป็นกากอาหารได้ ช่วยป้องกันโรคท้องผูก ผักมีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ ผักใดที่มีน้ำมากจะมีคาร์โบไฮเดรตน้อย ผักใบเขียวที่มีเซลลูโลสมากก็ให้พลังงานต่ำ เราสามารถกินผักใบเขียวได้อย่างไม่จำกัดปริมาณ
เนื้อเยื่อของพืชประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด ส่วนที่กินได้เรียกว่า เซลพาเรนไคมา เซลล์นี้มีอยู่ทั่วไปในผัก ผล หรือลำต้นที่ยังอ่อนอยู่ มีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยมเท่าๆกัน ผนังเซลล์ของพืชหนากว่าของสัตว์ อาจประกอบไปด้วยผนังเซลล์หลายชั้น เซลล์ที่มีอายุน้อยมีผนังเซลล์เพียงชั้นเดียว เมื่อเซลล์โตขึ้นก็อาจมีผนังเซลล์ชั้นที่สองเกิดขึ้นภายใน ผนังเซลล์ชั้นนอกและชั้นในประกอบด้วยเซลล์ลูโลส ภายในเซลล์มีของเหลวเรียกว่า ไซโตพลาสซึม น้ำ นิวเคลียส และสารอื่นๆลอยตัวอยู่ เซลล์พืชแตกต่างจากเซลล์สัตว์คือ มีช่องว่างอยู่ตรงกลางเซลล์เรียกว่า แวคิวโอลภายในช่องว่างนี้มีของเหลวชื่อว่า เซลแซป ซึ่งมีสารที่ละลายน้ำได้ เช่น น้ำตาล เกลือ ฯลฯ ผักที่มาจากส่วนที่เป็นลำต้นของพืช เช่น ผักกระเฉด มีเซลล์ที่ประกอบกันเป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากสู่ใบ และมีเซลล์ที่ประกอบกันเป็นท่อลำเลียงอาหารไปยังเซลล์ต่างๆของพืช ผนังของท่อส่งน้ำนี้ประกอบด้วยเซลลูโลส และมีลิกนินเสริมให้ผนังหนาและแข็งแรงขึ้น ส่วนผนังของท่อมีลิกนินเล็กน้อย บนผิวของผักผลไม้ เช่น เปลือกส้ม จัมีเซลล์อิพิเดอร์มิส มีหน้าที่ป้องกันสิ่งต่างๆ เซลล์เหล่านี้จะมีปากใบทางด้านท้องใบมาก ปากใบสามารถปิดเปิดให้ก๊าซผ่านเข้าออกได้ ในตอนกลางวัน พืชจะสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้รับมาจากอากาศ และคายออกซิเจนและน้ำออกมาสู่ภายนอก ปากใบจึงเปิดกว้าง ในตอนกลางคืนไม่มีการสังเคราะห์แสง มีแต่การหายใจ มีออกซิเจนผ่านเข้าเท่านั้น และคาร์บอนไดออกไซด์ถูกคายออก
กรดเพคติค เป็นสารจำพวกน้ำตาลหลายชั้น ประกอบด้วยอนุพันธ์ของกรดกาแลคตูโรนิคโยงกันอยู่ด้วยไกลโคซิดิคบอนด์ กรดเพคติคอยู่ที่เนื้อเยื่อของพืชในรูปของเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมเพคเตค กรดเพคติคสามารถละลายน้ำได้ กรดเพคตินิค คล้ายกับกรดเพคติค แต่มีคาร์บอกซิล บางตัวถูกทำให้เป็นเอสเตอร์ อนุพันธ์เมธธิลในพืช กรดเพคตินิคอยู่ในรูปของเกลือแคลเซียมและมกนีเซียมเพคติเรต คำว่า"เพคติน"หมายถึง กรดเพคตินิคที่มีอนุพันธ์เมธธินเป็นจำนวนมาก ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถกระจายตัวอยู่ในน้ำได้ โปรโตเพคติน เป็นสารจำพวกเพคติคที่ไม่ละลายน้ำ พบในเนื้อเยื่อของพืชที่ยังอ่อนอยู่ โดยเฉพาะในผลไม้ที่ยังไม่แก่จัด
ผักและผลไม้ต่างก็มีสีที่แตกต่างกัน เช่น ผักบางชนิดมีสีเหลือง บางชนิดมีสีเขียว ฯลฯ สีของผักเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาหารมองดูน่ากิน แต่ถ้าเรานำผักไปผ่านการหุงต้ม สีของผักก็จะเปลี่ยนไป ทำให้อาหารแลดูไม่น่ากิน เพื่อรักษาสีของผักและผลไม้ไว้ เราจึงควรมีความรู้ด้านปฏิกิริยาที่ทำให้สีของผักผลไม้เปลี่ยนแปลงไป
1. เกิดจากเอนไซม์ เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อที่มีตำหนิเท่านั้น เช่น รอยช้ำ ส่วนของพืชที่ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนของสารจำพวกฟีนอล และโพลีฟีนอล โดยเอนไซม์ชนิดเดียว แต่มีชื่อเรียกต่างๆกัน ได้แก่ ฟีนอลออกซิเดส ฟีนอลเลส โพลีฟีนอลออกซิเดส และโพลีฟีนอลเลส การป้องกันไม่ให้เกิดสีน้ำตาลมีอยู่หลายวิธี เช่น เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เก็บเพื่อไม่ให้ได้ไปสัมผัสกับอาหารได้มากขึ้น หรือเอาออกซิเจนออก ไม่ให้ไปสัมผัสกับอากาศ และทำลายเอนไซม์ 2. เกิดโดยที่ไม่มีเอนไซม์ ปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบที่มีไนโตรเจนกับน้ำตาล ปฏิกิริยาระหว่างกรดอินทรีย์กับน้ำตาล ปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบที่มีไนโตรเจรและกรดอินทรีย์ รสชาติของผักและผลไม้มาจากสารหลายอย่าง ส่วนใหญ่มาจากกรด น้ำตาลและสารที่ระเหยได้ และอาจมีสารแต่ละอย่างอยู่ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น
เนื้อสัมผัสของผักและผลไม้ขึ้นอยู่กับเซลลูโลสในเนื้อเยื่อที่เป็นโครงสร้างของพืช และปริมาณน้ำภายในเซลล์ ผักสดกรอบเพราะมีน้ำในเซลล์มาก เมื่อน้ำเข้าไปในเซลล์ เซลล์จะพองและเต่งขึ้น เกิดแรงดันที่เรียกว่า แรงเต่ง ถ้าหากผนังยืดหยุ่นได้มาก ผนังเซลล์ก็จะไม่ขาด เมื่อใดที่น้ำเคลื่อนออกจากเซลล์มากเกินไป ผักและผลไม้จะเหี่ยวและไม่กรอบ การที่น้ำเข้าไปในเซลล์ได้เพราะมีแรงดันออสโมซิสดันใหน้ำเคลื่อนที่จากสารละลายที่เจืองจางซึ่งอยู่ภายนอกเซลล์ไปยังสารละลายที่เข้มข้นกว่าภายในเซลล์ โดยผ่านผนังชนิดที่ยอมให้สารบางชนิดเข้าออกได้ ความเต่งของเซลล์ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์ เมื่อพืชมีชีวิตอยู่ จะสูญเสียน้ำออกทางปากใบ ยิ่งตอนกลางวัน ปากใบยิ่งเปิดกว้าง แต่พืชก็ได้น้ำชดเชยกับที่เสียไป โดยดูดขึ้นมาจากรากและลำต้น เมื่อเซลล์ของผักและผลไม้ยังเป็นส่วนหนึ่งของพืช จึงมีความเต่งเสมอ เมื่อเด็ดผักหรือผลไม้ออกมาจากลำต้นแล้ว ต้องระวังอย่าให้น้ำระเหยออกไปมาก ความกรบก็จะลดลง ผักและผลไม้เมื่อเก็บใหม่ๆจะอร่อย และกรอบ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เมื่อเก็บไว้นานก็จะเกิดสิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ยิ่งถ้าอากาศร้อนก็จะยิ่งทำให้เสื่อมคุณภาพเร็วมาก เราไม่ควรเก็บผลไม้ไว้ค้างคืน ควรนำไปแช่ตู้เย็นในกรณีที่ยังกินไม่หมด ก่อนเก็บ ผักและผลไม้ได้รับน้ำ คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ จากท่อส่งน้ำและอาหาร หลังจากที่เด็ดมันออกมาจากลำต้น อาหารในเซลล์ก็จะค่อยๆหมดไป เซลล์ต่างๆที่ยังมีชีวิตก็ยังหายใจเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและยังมีการคายน้ำอยู่ และยังมีกระบวนการทางเคมีต่างๆเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลในผลไม้ การเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งในข้าวโพด แต่ว่าไม่มีการสังเคราะห์แสง การปล่อยให้ผักและผลไม้เป็นอย่างนั้นไปเรื่อยๆจะทำให้เน่าเสียได้
Copyright(c) 2001 Miss Khassaraporn Monchaiphumiwat. All rights reserved. |