|
มหาชาติเวสสันดรชาดก
|
|
เป็นงานชิ้นหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงวิธีการการกำจัดความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นวิธีการที่ยากที่จะให้มนุษย์มีน้ำใจต่อกันต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ ซ้ำบางเวลาผู้แสดงน้ำใจนั้นเองก็กลับกลายเป็นบุคคลที่มนุษย์เขาไม่พึ่งปรารถนา ตกไปสู่ฐานะอันยากแค้นลำเค็ญแต่ก็เพราะอำนาจที่เห็นน้ำใจ มีคุณค่าแก่โลกที่แท้จริง แม้ผู้แสดงน้ำใจจะต้องตกตาร้ายบ้าง บางเวลาก็ไม่หน้าท้อแท้ เพราะเชื่อแน่ว่าผลเลิศอันเป็นขั้นสุดท้ายนั้น จะเป็นผลที่มีคุณค่าคุ้มกับความยากลำบาก เพราะเมื่อฝ่าฟันความยากเข้าไปเป็นได้แล้วมันดีจริงๆ เช่น ความเป็นเศรษฐีจะได้มานั่งเป็นสง่าให้คนทั้งหลายเขานับถือเกรงใจ อำนาจน้ำเงินได้ก็ต้องเสียน้ำเหงื่อมาเป็นหาบๆ
|
|
|
ทางรอดมหาชาติ ด้วยเป็นเรื่องของพระราชามหากษัตริย์มาแต่ต้น แม้เมื่อได้รับการเชิดชูในประเทศ-ไทย เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินท่านก็ทรงสนพระทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชนิพนธ์มหาชาติไว้หลายกัน คือ วนประเวศน์ จุลพน มหาพน สักกบรรพ และฉกษัตริย์สำหรับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอถวายเทศเมื่อทรงผนวชเป็นสามเณรคิดตามลำดับที่ได้ถวายเทศน์ก่อนและหลัง ประมาณว่าทรงพระราชนิพนธ์กัณฑ์สักกบรรพ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๕๑๑ กัณฑ์ ฉกษัตริย์ทรงพระราชนิพนธ์ทันแต่ข้างต้นสองแหล่นอกจากนั้นใช้หนังสือเติม ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสรุตนกวีของโลก วัดพระเชตุพนฯ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธอ ในรัชกาลที่ ๔ ที่ได้ผนวชเป็นสามเณรเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ก็ดี หรือที่มาผนวชเป็นสามเณรในรัชกาลที่ ๕ ได้ถวายเทศน์มหาชาติ ความพระราชนิพนธ์นี้แทบทุกพระองค์ โปรดให้พระราชครูพิราม (ชู) เมื่อยังเป็นหลวงราชาภิรมย์อยู่ในกรมราชบัณฑิตเป็นผู้ฝึกหัด แต่บางพระองค์ทรงลาผนวชเสียก่อน ไม่ทันได้ถวายเทศน์ก็มีบางที่ถวายเทศน์กัณฑ์อื่นอันมิได้ทรงพระราชนิพนธ์ก็มีบางพระองค์แม้พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้นผนวชก็ทรงโปรดมหาชาติกัณฑ์สักกบรรพเป็นพิเศษ
เรื่องเทศน์มหาชาตินี้ มีกล่าวในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๕ ว่า เมื่อเจ้านายทรงผนวชจะฝึกหัดเทศน์มหาชาติจนได้เทศน์ถวายหน้าที่นั่ง (คือถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ทรงราชย์อยู่เวลานั้น) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทรงบรรพชาเป็นสามเณร ก็ได้เทศน์กัณฑ์สักกบรรพถวายพระชนกนาถ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เช่นเดียวกัน กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (ต้นตระกูล นพวงศ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสสองใหญ่ในรัชกาลที่ ๔ และพระเจ้าพี่ยาเธอ ในรัชกาลที่ ๕ เป็นเจ้าของกัณฑ์ได้ทำกระจาดผูกเป็นรูปเรือสำเภาขึ้นที่หน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ปากกว้าง ๕ วา ยาว ๑ เส้น มีคนไทยทานต่างๆ แปลกตา มีนั่งร้านขายของเหมือนที่ลูกค้าเรือสำเภามีในสมัยนั้น และวางร้านสินค้าที่พื้นดินซึ่งตกแต่งให้เหมือนลูกคลื่น มีเต่า ปลา นานาชนิดที่มีในทะเล ของที่ลงทุนไปแล้ว เจ้าภาษีอากรคิดทั้งสำเภาด้วยเป็นเงินประมาณ ๓๐๐ ชั่ง (๘๐ บาทเป็นหนึ่งชั่ง) ได้สั่งให้พระราชทานเงินหลวงแทน เป็นงานครึกครื้น ผู้คนมาดูเบียดเสียดทั้งกลางวันกลางคืน ในพงศาวดารของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ก็ได้กล่าวถึงพระราชพิธีเทศน์มหาชาติว่าในรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเทศน์มหาชาติ (ยังมีต่อ)
|
|
www.thaigoodview.com
คุณเข้ามาใช้งานอันดับที่
ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2548
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com
Copyright (c) 2005 บ้านไทยกู๊ดวิว www.thaigoodview.com. All rights reserved.
|