ไชเท้าเป็นผักสวนครัวที่เราเอามาทำอาหารได้ทั้งดิบ
และสุกโดยนำมาปรุงเป็นแกงจืด แกงส้ม และใช้ทำเป็นผักดองหรือผักเค็ม
ซึ่งเรียกกันว่า หัวไชโป๊ว นอกจากนั้นยังนำมาทำเป็นยำต่าง
ๆ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสลัดผักได้ หัวไชเท้าเป็นผักที่มีคุณค่าทางสารอาหารหลายอย่าง
อาทิเช่น วิตามินซี กลูโคส ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส
และไนอะซิน ส่วนใบของหัวไขเท้านั้นสามารถนำไปเตรียมเป็นโปรตีนในการผลิตอาหารเสริมต่าง
ๆ ไชเท้ามีชื่นเรียกต่าง ๆ ดังนี้ หัวผักกาด หัวผักกาดขาว
หัวไชเท้า ผักกาดจีน ผักขี้หูด ผักเปิ๊กหัวไหล่ฮก
จี๋ชัง
ไชเท้าเป็นพืชล้มลุก
ลำต้นสูงประมาณ 20-100 ซม. ในตำราไทยกล่าวไว้ว่า น้ำคั้นจากหัว
รับประทานเป็นยาบำรุงประสาท แก้อาการผิดปกติเกี่ยวกับหลอดลม
และทรวงอก ส่วนตำรายาพื้นบ้านขงอินเดียระบุไว้ว่ารับประทานหัวไชเท้าจะช่วยให้นอนหลับ
และแก้โรคประสาทได้ ซึ่งก็เหมือนตำราไทย ส่วนในปัจจุบันนี้ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า
ในเมล็ดของหัวไชเท้ามีสารซัลโฟราฟีน (Sulphoraphene)
ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Streptococcus
และ Pneumococcus และมีสารราฟานิน (Raphanin) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมบวก
และกรัมลบได้หลายชนิด
เนื่องจากหัวไชเท้ามีวิตามินซีสูงมากประมาณ
26 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
หรือโรคลักปิดลักเปิดได้
|