เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีแล้ว
ความมุ่งหมายจะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาราชธานีเดิม
ด้วยถือกันว่า ทั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นสมัยที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
เรียกกันว่า ครั้งบ้านเมืองดี รั้ววัง
วัดวาที่สร้างขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มักถ่ายแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยา
ยกตัวอย่างเช่น ที่สร้างวัดสุทัศนเทพวราราม
เป็นที่ประดิษฐสถานพระโตซึ่งเชิญมาแต่เมืองสุโขทัย
เมื่อในรัชกาลที่ 1 ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น
แต่พระอารามหลวงในสมัยราชกาลที่ 1 และราชกาลที่
2 ยังมีน้อย ถึงรัชกาลที่
3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริว่าพระอารามหลวงในกรุงเทพฯ
นี้ยังมีน้อยกว่าครั้งกรุงเก่ามากนัก ไม่พอแก่ตำแหน่งพระราชาคณะในทำเนียบจึงทรงสร้างพระอารามขึ้นมาบ้าง
ทรงชักชวนอุดหนุนเจ้านายและขุนนางที่มีกำลังพาหนะให้สร้างบ้าง
ถ้าวัดของใครสร้างงดงามดี ก็ทรงรับเป็นพระอารามหลวง
เพื่อให้เป็นเกียรติยศแก่ผู้สร้างฤาเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดนั้นๆ
ความนิยมการสร้างวัดก็เกิดขึ้น แต่เมื่อถึงรัชกาลที่
4 และรัชกาลที่ 5 ต่อมาทรงพระราชดำริว่า
วัดที่ได้สร้างขึ้นมีมากพออยู่แล้ว ก็มิใคร่จะได้ทรงรับวัดที่ผู้อื่นสร้างเป็นพระอารามหลวงดังแต่ก่อนแล้ว"
ในปัจจุบันนี้
วัดที่ได้ยกย่องขึ้นเป็นพระอารามหลวงนั้นต้องมีลักษณะถูกต้องตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงจะนับเป็นพระอารามหลวงได้
|