การสร้างวัด

     

Homeคำว่ารายชื่อวัดแหล่งข้อมูล

nonkkwank@yahoo.com,chsorange@yahoo.com

 

ประเภทของวัด 
การสร้างวัด 

 

การสร้างวัด

        การสร้างวัดแต่โบราณกาล เมื่อประชาชนมีจิตศรัทธาในพุทธศาสนา  ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดก็ตามมักจะสร้างวัดขึ้นแล้วนิมนต์พระสงฆ์ไปพำนักอยู่อาศัยเพื่อบำเพ็ญกุศลประกอบสาสนกิจตามประเพณีสืบต่อกันมา ครั้นประชาขนมีจำนวนมากขึ้น  การสร้างวัดก็มีจำนวนมากตามไปด้วย  ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในทางปกครอง  เพราะไม่มีระเบียบแบบแผนเป็นแนวยึดถือปฏิบัติ  จึงมีกฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์ตราขึ้นเป็นฉบับแรก  คือ  พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์  ร.ศ. ๑๒๑  ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ไว้  การสร้างวัดนั้นต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อน  วัดได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างเช่นนี้ เรียกว่า  ที่สำนักสงฆ์  เป็นวัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เรียกว่า  อาราม  ถ้าเป็นวัดหลวงเรียกว่า  พระอารามหลวง  ถ้าเป็นวัดราษฎร์เรียกว่า  อารามราษฎร์  ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช ๒๔๘๔  ตราขึ้นเป็นฉบับที่สองใช้แทนฉบับแรก  กฎหมายฉบับที่สองนี้ให้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอน  วิธีการสร้างวัด และตั้งวัดไว้  โดยให้คณะกรรมการอำเภอออกใบอนุญาตให้สร้างวัด  กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ออกประกาศการตั้งวัด ภายหลังจากที่ได้ใช้กฎหมายฉบับที่ ๒ มาเป็นเวลานานพอสมควร  ได้มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ. ๒๕๐๕  ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันตราขึ้นมาเป็นฉบับที่ ๓  แทนฉบับที่ ๒  การสร้างและตั้งวัดให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงเช่นเดียวกับฉบับก่อน  แต่การสร้างวัดกรมการศาสนาจะเป็นผู้ออกหนังสืออนุญาต  ส่วนการตั้งวัดยังคงให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ออกประกาศเช่นเดิม 


พระพุทธศาสนา

 

       พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาอย่างยาวนาน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ล้วนได้ทรงทำนุบำรุงอุปถัมป์พระพุทธศาสนามาโดยตลอด พุทธศาสนาในประเทศไทย มี 2 นิกายที่สำคัญ คือ มหายาน และ หินยาน โดยนิกายหินยานได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยตั้งแต่ ราว พ.ศ.300 คนไทยได้นับถือพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวางมาเป็นลำดับ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศาสนาได้แบ่งย่อยออกเป็น มหานิกาย และธรรมยุติ แม้จะมีธรรมทัศนะ และวัตรปฏิบัติที่มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปบ้าง แต่ในหลักธรรมแล้ว ยังคงยึดถือตามพระราชบัญญัติในพระไตรปิฎกเช่นเดียวกัน

      พุทธศาสนาในประเทศไทยมีลักษณะที่ผสมผสานกับศาสนาพราหมณ์ และคติความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับผีสางเทวดา พุทธศาสนามีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างสรรค์และลักษณะของวัฒนธรรมไทยในด้านต่าง ทั้งด้านจิตใจ ความเชื่อ บุคลิกภาพ รวมถึงวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ อาทิเช่น เจดีย์ โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นต้น พุทธศาสนาในประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ต่อมากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก และตกเป็นประเทศราชของพม่าทำให้ศาสนาพุทธถึงยุคเสื่อมลง จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชให้ชนชาวไทยได้สำเร็จ พระองค์ได้ทรงเริ่มฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาอีกครั้ง ต่อมาในราชวงศ์รัตนโกสินทร์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงก่อตั้ง "กรมสงฆ์การี" ขึ้นมา โดยมีหน้าที่ดูแลพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่งปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบการปกครองพระสงฆ์ โดยจัดตั้ง "มหาเถรสมาคม" ขึ้นมาเป็นองค์กรของสงฆ์ที่ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบและบริหารกิจการสงฆ์ทั่วประเทศ

 

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2001 Waleerat Thaweebanchongsin,Chanokporn Sathaporncharearnchai. All rights reserved.