การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางเสียง 1.
กำหนดให้มีมาตรฐานควบคุมระดับความดังของเสียงทุกประเภท 2.
ควบคุมระดับเสียงจากแหล่งกำเนิดให้อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
โดยการ ใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ใช้เสียงดัง บุผนังห้องด้วยวัสดุลดเสียง
หรือกำแพงกั้นเสียง 3.
ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีแหล่งกำเนิดเสียงดังควรใช้วัสดุป้องกันการได้ยินเสียงดัง
เช่น เครื่องอุดหู เครื่องครอบหู เป็นต้น 4.
กำหนดเขตการใช้ที่ดินประเภทที่ก่อให้เกิดเสียงดังรำคาญ
ให้อยู่ห่างจากสถานที่ที่ต้องการความสงบเงียบ เช่น ชุมชนพักอาศัย โรงเรียน
โรงพยาบาล วัด เป็นต้น เพื่อเพิ่มระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับชุมชน
หรือให้มีเขตกันชนเพื่อลดความดังของเสียง 5.
เข้มงวดกับการใช้มาตรการลดผลกระทบจากกิจกรรมการก่อสร้างต่างๆ 6.
ยกเว้นหรือลดภาษีในกิจกรรมหรือวัสดุอุปกรณ์สำหรับควบคุมและป้องกันภาวะมลพิษทางเสียง 7.
ให้การศึกษาและฝึกอบรมด้านภาวะมลพิษทางเสียงแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 8.
สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขภาวะมลพิษทางเสียง 9.
สร้างเครือข่ายตรวจสอบและเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดภาวะมลพิษภายในชุมชน 10.
รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ถึงอันตรายจากภาวะมลพิษทางเสียง
และร่วมมือกันป้องกันมิให้เกิดมลพิษทางเสียง
|