ตัวอย่างระดับความดังของเสียง

 

Homeผู้จัดทำมลภาวะ  คือมลพิษทางอากาศมลพิษทางน้ำมลพิษทางเสียงมลพิษจากขยะมลพิษจากของเสียอันตรายมลพิษทางอาหารแบบทดสอบ ก่อน- หลังเรียน

  

 

ตัวอย่างระดับความดังของเสียง 
ผลกระทบ 
การป้องกัน 

 

  การวัดระดับเสียงจากกิจกรรมต่างๆ มีหน่วยเป็น เดซิเบลเอ (Decibel A) มีตัวอย่างดังนี้

  เครื่องบิน

130

เดซิเบลเอ

เสียงเจาะถนน

120

เดซิเบลเอ

โรงงานผลิตอลูมิเนียม

100-120

เดซิเบลเอ

วงดนตรีร็อค

108-114

เดซิเบลเอ

งานค็อกเทลที่มีแขกประมาณ 100 คน

100

เดซิเบลเอ

รถสามล้อเครื่อง

92

เดซิเบลเอ

รถบรรทุกสิบล้อ

96

เดซิเบลเอ

รถยนต์

85

เดซิเบลเอ

รถจักรยานยนต์

88

เดซิเบลเอ

เสียงคนพูดโดยทั่วไป

50

เดซิเบลเอ

 
         องค์การอนามัยโลก กำหนดระดับเสียงเป็นพิษหรือดังเกินไปไว้ที่ 85 เดซิเบลเอ และระดับเสียงที่บุคคลทนรับฟังได้คือ 120 เดซิเบลเอ สำหรับประเทศไทยกำหนดค่ามาตรฐานระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไว้ที่ 70 เดซิเบลเอ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่องกำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป
         เราจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อได้รับฟังเสียงที่ดังเกินกว่า 130 เดซิเบลเอ แต่การรับฟังเสียงที่มีความดัง 70 เดซิเบลเออย่างต่อเนื่องทั้งวันก็อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมได้ การกำหนดว่าเสียงใดเป็นเสียงรบกวนขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล เช่น สภาพอารมณ์ขณะรับฟังเสียง ลักษณะของงาน สถานที่ เวลา ความทนทานและความดังของเสียง เป็นต้น หากพบว่าการยืนห่างกันประมาณหนึ่งช่วงแขนแล้วพูดคุยกันด้วยระดับเสียงปกติแล้วไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจกัน แสดงว่าบริเวณนั้นมีเสียงดังถึงขั้นอันตรายต่อระบบการได้ยิน

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาตม พ.ศ. 2550

จัดทำโดยครูสุรีพร จิตต์ซื่อ
โรงเรียนอนุบาลศรีนคร(ไทยธัญญานุกูล) อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
 Copyright (c) Ms.Sureeporn Jittsue. All rights reserved.