ผลกระทบ

 

Homeผู้จัดทำมลภาวะ  คือมลพิษทางอากาศมลพิษทางน้ำมลพิษทางเสียงมลพิษจากขยะมลพิษจากของเสียอันตรายมลพิษทางอาหารแบบทดสอบ ก่อน- หลังเรียน

  

 

ตัวอย่างระดับความดังของเสียง 
ผลกระทบ 
การป้องกัน 

 

 ผลกระทบจากภาวะมลพิษทางเสียง
       1. ผลกระทบต่อการได้ยิน แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
           - หูหนวกทันที เกิดขึ้นจากการที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน 120 เดซิเบลเอ
           - หูอื้อชั่วคราว เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลเอขึ้นไปในเวลาไม่นานนัก
           - หูอื้อถาวร เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีระดับความดังมากเป็นเวลานานๆ
       2. ด้านสรีระวิทยา เช่น ผลกระทบต่อระบบการหมุนเวียนของเลือด ต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ระบบประสาท และความผิดปกติของระบบการหดและบีบลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
       3. ด้านจิตวิทยา เช่น สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน ผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ รบกวนการสนทนาและการบันเทิง
       4. ด้านสังคม กระทบต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ขาดความสงบ
       5. ด้านเศรษฐกิจ มีผลผลิตต่ำเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานลดลง เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมเสียง
       6. ด้านสิ่งแวดล้อม เสียงดังมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ เช่น ทำให้สัตว์ตกใจและอพยพหนี  

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาตม พ.ศ. 2550

จัดทำโดยครูสุรีพร จิตต์ซื่อ
โรงเรียนอนุบาลศรีนคร(ไทยธัญญานุกูล) อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
 Copyright (c) Ms.Sureeporn Jittsue. All rights reserved.