โรคไขมันในเลือดสูง
    ไขมันในเลือดสูง หมายถึง ภาวะที่มีคอเลสเตอรอลอยู่ในเลือดสูงมากกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 ซีซี และไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 ซีซี มิลลิกรัม โดยต้องเจาะเลือดตรวจซ้ำกัน 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-3 สัปดาห์ และควรเจาะเลือดในตอนเช้า หลังนอนพักผ่อนมาเต็มที่ และงดอาหารเครื่องดื่มต่าง ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
สาเหตุที่ทำให้ไขมันในเลือดสูง
      1. ภาวะไม่ใช่โรค เช่น อายุ ความร้อน การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์ เป็นต้น
      2. ภาวะที่เป็นโรค เช่น กรรมพันธุ์ และโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ท่อน้ำดีอุดตัน โรคเกาต์ ตับ เป็นต้น

อาการที่บ่งบอกว่าไขมันในเลือดสูง
      1. เมื่อเกิดภาวะไขมันสูงในเลือด เส้นเลือดจะเปราะแตกง่าย

      2. ผนังหลอดเลือดแข็ง หัวใจต้องทำงานหนักมาขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดให้เลี้ยงทั่วร่างกายเพียงพอ เมื่อเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หรือเป็นอัมพาต
      3. มีปื้นเหลืองที่ผิวหนัง เช่น หนังตา ข้อศอก หัวเข่า และฝ่ามือ
      4. เอ็นร้อยหวายหนาตัวกว่าปกติ (เกิน 10 มิลลิเมตร)
      5. มีเส้นวงสีขาวเกิดขึ้นระหว่างรอบตาดำกับตาขาว


การป้องกัน
      1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หนังเป็ด หนังไก่ หอย ปู กุ้ง ปลาหมึก มันหมู มะพร้าว อาหารที่มีกะทิ และถ้าหากมีไตรกลีเซอไรด์สูงด้วย ก็ควรระวังอาหารพวกแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้ที่หวานจัด


      2. รับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย เป็นต้น

      3. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ

      4. น้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ควรใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา

      5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
          - การวิ่งจ๊อกกิ้ง 20 นาที ความเร็ว 120 เมตรต่อนาที
          - ว่ายน้ำตามสบาย 25 นาที
          - เดินเร็วด้วยความเร็ว 100 เมตรต่อนาที เป็นเวลา 25 นาที
          - ขี่จักรยานความเร็ว 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเวลา 25 นาที
          - เต้นแอโรบิคพอประมาณ

                        

                               

คลิกเพื่อดู video