ความดันเลือด

            ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรง ลมที่ดันผนังยางรถเวลาสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดโดยใช้ เครื่องวัดความดัน เครื่องวัดความดัน (Sphygmomano meter) วัดที่แขน และมีค่าที่วัดได้ 2 ค่าคือ
ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ ความดันช่วงบนในคน ๆ เดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ตามท่าของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และปริมาณของการออกกำลัง
ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic blood pressure ) หมายถึง แรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในปัจจุบัน ได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิต และระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (โดยการวัดในท่านั่ง วัดอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป แล้วคิดเป็นค่าเฉลี่ย) ดังนี้

    ความดันช่วงบน

ปกติ มีค่าต่ำกว่า 130 มม.ปรอท (ทอรร์)
ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 130-139 มม.ปรอท
ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 140-159 มม.ปรอท

ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 160-179 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 180-209 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 210 มม.ปรอทขึ้นไป

    ความดันช่วงล่าง

ปกติ มีค่าต่ำกว่า 85 มม.ปรอท
ปกติแต่ค่อนข้างสูง มีค่าระหว่าง 85-89 มม.ปรอท
ความดันสูงเล็กน้อย มีค่าระหว่าง 90-99 มม.ปรอท
ความดันสูงปานกลาง มีค่าระหว่าง 100-109 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรง มีค่าระหว่าง 110-119 มม.ปรอท
ความดันสูงรุนแรงมาก มีค่าตั้งแต่ 120 มม.ปรอทขึ้นไป