ป่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : www.fernsiam.com/.../Cyathea/by%20Sa_Hoya.jpg
ป่าเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
ความสำคัญ |
: |
ป่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ แหล่งชีวภาพสำคัญของโลก อีกทั้งยังเป็นป่าเขตร้อนที่มีอายุมากที่สุดในโลกอีกด้วย คือ ย้อนกลับไปได้มากกว่า 70 ล้านปี
|
ป่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดดเด่นด้วยไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) โดยพืชที่มีขนาดใหญ่และมีลำต้นสูงสุด ได้แก่ ต้นยวน (Taulang : Koompassia excelsa ) ที่มีความสูงถึง 60-70 เมตร พืชในเขตนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 15,000 ชนิด โครงสร้างป่ามีความสลับซับซ้อน และมีสัตว์ป่าอาศํยอยู่ในทุกตารางนิ้ว ดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกก็พบในป่าแถบนี้ คือ บัวผุด (Rafflesiaarnoldii) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กหลางดอก 90-100 เซนติเมตร สามารถพบได้บนเกาะบอร์เนียว
|
อาณาเขต |
: |
พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงหมู่เกาะต่าง ๆ
|
เนื้อที่ |
: |
ปี พ.ศ. 2548 มีป่าประมาณ 4,101,410 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 25 เปอร์เซ็นต์ของป่าเขตร้อนทั้งโลก
|
อัตราการสูญเสีย |
: |
ปัจจุบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูญเสียป่าไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยป่าของแต่ละประเทศสูญเสียไปราว 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ยกเว้นอินโดนีเซ๊ย ที่สูญเสียไปมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ด้วยระหว่าง พ.ศ. 2543-2548 ปรากฏว่า อินโดนีเซียโค่นป่า ปีละ 18,000 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับป่าถูกตัดไป 51 ตารางกิโลเมตรในทุกวัน! |