“ป่าเขตหนาว” หรือ “ป่าขั้วโลก” พบได้ตั้งแต่เส้นละติจูดที่ 58 องศเหนือขึ้นไปถึงขั้วโลก บริเวณนี้มีอากาศแบบทุนดรา (Tundra) ฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูร้อนอุณหภูมิไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส ซึ่งมีเพียง 3-4 เดือน ในฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำถึง -30 องศาเซลเซ๊ยส ส่งผลให้น้ำในดินชั้นล่างเย็นจัดจนกลายเป็นชั้นน้ำแข็งถาวร (Permafrost)
ไม้เด่นชนิดเดียวที่สามารถปรบตัวอยู่ได้เป็นบริเสณกว้าง คือ ต้นสน ที่พบทางทวีปอเมริกาเหนือ อะแลสกา ยุโรป และรัสเซีย
โดยป่าสนเขตหนาวเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบได้ทางตอนบนของสแกนดิเนเวียและรัสเซีย รวมพื้นที่กว่า 3.5 ล้านตารางไมล์ คนมางซีกเหนือเรียกป่าสนชนิดนี้ว่า “ป่าสนไทก้า”(Taiga Forest) นอกจากนั้น ยังพบไม้เด่นที่รอง ๆ ลงมาไม่กี่ชนิด เช่น เฟอร์ สปรูซ ลาร์ซ (Larch) ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก พืชที่ฝังหัวในดิน หญ้า มอส และไลเคน

ที่มา : https://ohesvictory-science.wikispaces.com/Taiga
ป่าสนไทก้า
สัตว์ที่พบในป่าเขตหนาวสามารถปรับตัวทนทานต่ออากาศสุดขั้วได้ ทั้งด้วยวิธีการปรับสรีระและการจำศีล โดยสัตว์บางชนิดได้พัฒนารูปร่างให้ใหญ่โตเพื่อต่อสู้กับอากาศหนาว เช่น กวางคาริบู (Caribou) ในทวีปอเมริกาเหนือ รัสเซีย และสแกนดิเนเวีย จะมีน้ำหนักได้ถึง 100-318 กิโลกรัม เช่นเดียวกับวัวป่ามัสก์ออกซ์ (Musk Ox) ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะหนักได้ถึง 180-400 กิโลกรัม เป็นต้น
สัตว์ในป่าขั้วโลกอันหนาวเย็นมักมีขนปกคลุมร่างกายหนา และมีขนหลานชุด เช่นมีขนสีคล้ำและเส้นบางในช่วงฤดูร้อน เพื่อให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต แต่จะสลัดขนชุดนี้ทิ้งเป็นขนหนาสีขาวในฤดูหนาว เช่น กระต่ายป่าอาร์กติก
ป่าเขตหนาวแม้มีความหลากหลายทางชีวภาพไม่มากเท่าป่าเขตอบอุ่นและป่าเขตร้อน แต่ก็มีอาญาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ส่งผลให้มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศโลกอันสมดุล สภาพป่าที่ค่อนข้างโปร่ง ไม่รกทึบ ประกอบด้วยไม้เนื้ออ่อนอย่างสน ทำให้ง่ายต่อการบุกรุกแผ้วถาง จนกลายเป็นบริเวณที่มีสัมปทานการทำไม้มากที่สุดเขตหนึ่งในโลก โดยประมาณกันว่า ป่าเขตหนาวของแคนาดาเหลือพื้นที่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากพื้นที่ป่าดั่งเดิมเช่นเดียวกีบรัสเซีย ที่มีการตัดป่าสนไทก้าในอัตราปีละ 120,000 ตารางกิโลเมตร
นั่นเท่ากับพื้นที่ป่าขนาดเท่ากับเกาะสิงคโปร์ 169 เกาะ หายไปในทุก ๆ ปี !?
|