|
|
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีสิ่งมีชีวิตทั้งหมดกี่ชนิดในโลก อย่างไรก็ตาม นักชีววิทยา
หลายท่านได้ทำการคาดคะเนจำนวนทั้งหมดที่มีในปัจจุบัน แต่ตัวเลขที่ได้มีความแตก
ต่างกันเช่น Erwin (1983) คาดว่ามีสิ่งมีชีวิตประมาณ30 ล้านชนิด Wilson (1988)
ประมาณว่า อยู่ในระหว่าง 5 -30 ล้านชนิดส่วน Mcneely และคณะ (1990)คาดว่ามีถึง
ประมาณ 50 ล้านชนิด โดยในจำนวนนี้เป็นสิ่ง มีชีวิตที่ได้ถูกมนุษย์ค้นพบและตั้งชื่อ
วิทยาศาสตร์แล้วประมาณ 1.7 ล้านชนิด โดยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบในป่าเขตร้อน
จำนวนของสิ่งมีชีวิตรวมทั้งไวรัสที่ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แล้ว (Wilson, 1988) |
ไวรัส |
1,000 ชนิด |
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและแบคทีเรีย |
4,760 ชนิด |
เห็ด รา |
46,983 ชนิด |
สาหร่าย |
26,900 ชนิด |
โปรโตซัว |
30,800 ชนิด |
พืช |
248,428 ชนิด |
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง |
989,761 ชนิด |
สัตว์มีกระดูกสันหลัง |
43,853 ชนิด |
|
จำนวนชนิดที่รู้จักกันในประเทศไทย
จากการสำรวจความหลากหลายของชนิดพืชและสัตว์ของประเทศไทยพบว่า ประเทศไทย ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.36เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่บกของโลก ปรากฎว่าเป็น
แหล่งที่มีความหลากหลายอยู่ในลำดับที่สูงมากแห่งหนึ่งของโลกโดยมีความหลากหลาย
ของสัตว์มีกระดูก-สันหลังและพืชพวกที่มีท่อลำเลียงสูงตั้งแต่ 3.4 ถึง มากกว่า 9.3 เปอร์เซ็นต์ของที่มีในโลก
จำนวนชนิดโดยประมาณและจำนวนเปอร์เซ็นต์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
และพืชพวกมีท่อลำเลียงที่พบแล้วของไทย เปรียบเทียบกับจำนวนที่พบแล้ว
ของโลก |
ประเภทของสิ่งมีชีวิต |
|
จำนวนชนิด |
|
|
โลก |
ไทย |
(%) |
สัตว์มีกระดูกสันหลัง |
43,853 |
4,094 |
9.3 |
เฟิร์น |
10,000 |
591 |
5.9 |
สน |
529 |
25 |
4.7 |
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว |
50,000 |
1,690 |
3.4 |
พืชใบเลี้ยงคู่ |
170,000 |
7,750 |
4.6 |
|
สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการอยู่รอด การเจริญเติบโต และการแพร่พันธุ์ของสิ่งมี
ชีวิต หลายชนิดตลอดปีอย่างไรก็ตามสภาพภูมิอากาศมีความแตกต่างกันบ้างในภาคต่างๆ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของภาคและความสูงต่ำของพื้นที่แต่โดยรวมแล้วสภาพภูมิอากาศ
ของไทยจะไม่เปลี่ยนแปลงรุนแรงและรวดเร็วมากเหมือนในเขตอบอุ่นและเขตหนาวและ
ประกอบกับมีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกันในแต่ละภาค จึงทำให้เกิดความหลากหลายของ
แหล่งที่อยู่อาศัย ตามธรรมชาติหลายประเภท เช่น มีประเภทของป่าธรรมชาติมากกว่า12ประเภท เป็นต้นอีกทั้งประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อทั้งทะเลและแผ่นดินใหญ่ จึงเป็นศูนย์กลางที่มีการ กระจายพันธุ์ของพืชและสัตว์เข้ามาจากพื้นที่ต่างๆ รอบด้าน
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งที่รวบรวมเอาความหลาก
หลายทางชีวภาพไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง |
ข้อมูลของกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย
จำนวนชนิดโดยประมาณของสัตว์มีกระดูกสันหลังของไทยที่เปรียบเทียบกับของโลก |
ประเภทของสิ่งมีชีวิต |
|
จำนวนชนิด |
|
|
โลก |
ไทย |
(%) |
ปลา |
19,056 |
2,401 |
12.6 |
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก |
4,187 |
123 |
2.9 |
สัตว์เลื้อยคลาน |
6,300 |
318 |
5.0 |
นก |
9,040 |
962 |
10.6 |
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
4,000 |
292 |
7.3 |
เต่าและตะพาบ |
257 |
26 |
10 |
จำนวนชนิดโดยประมาณของสัตว์เลื้อยคลานที่พบแล้วในประเทศไทย และประเทศ
ใกล้เคียง
ประเภท |
ไทย |
พม่า |
ลาว |
เวียดนาม |
กัมพูชา |
มาเลเซีย |
เต่า |
26 |
26 |
9 |
26 |
12 |
21 |
จระเข้ |
3 |
1 |
1 |
2 |
2 |
2 |
ตุ๊กแก |
37 |
20 |
14 |
12 |
5 |
22 |
กิ้งก่า, ตะกวด |
32 |
22 |
20 |
19 |
14 |
25 |
จิ้งเหลน |
40 |
18 |
19 |
21 |
11 |
31 |
งู |
174 |
152 |
85 |
132 |
80 |
147 |
รวม |
312 |
239 |
148 |
212 |
124 |
248 |
|
ข้อมูลของกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย(เรียบเรียงจาก ไพบูลย์
นัยเนตร, 2532 และการติดต่อส่วนบุคคล, 2543)
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก มีประมาณ 96% ของสัตว์โลกทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นพวกสัตว์ขาปล้อง 85% โดยแบ่งออกเป็น |
-
แมลง ประมาณ 74%
-
พวก กุ้ง ปู กั้งตั๊กแตน ไรน้ำ แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ กิ้งกือ แมงดาทะเลและสัตว์ขาปล้องชนิดอื่นๆ ประมาณ 11 %
-
และที่เหลือเป็นสัตว์ ประเภทอื่นๆ เช่น ปะการัง หนอนตัวแบน หนอนตัวกลม หอย และ เอไคโนเดริม รวมแล้วประมาณ 11%
|
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแบ่งออกเป็นไฟลัม(Phylum)ต่างๆทั้งหมดประมาณ 31-33 ไฟลัมซึ่งขึ้นอยู่กับนักสัตววิทยาแต่ละคนที่จะแบ่งให้ละเอียดออกไปซึ่งรวมทั้งการแบ่งชั้น (class)ของแต่ละไฟลัมเพิ่มจำนวนขึ้นด้วยเนื่องจากสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นกลุ่มสัตว์ที่มี
จำนวนมาก และบางกลุ่มสามารถพบได้ทั่วไปทุกหนทุกแห่งทั้งในน้ำ บนดิน ใต้ดิน และใน
อากาศนักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการไทยที่ทำการศึกษาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังใน
ประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก และศึกษากันอยู่ในวงแคบๆเพียงไม่กี่กลุ่มของสัตว์พวกนี้ โดยเฉพาะจะทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการประมง
และตลอดจนนำมาใช้เป็นอาหารของประชาชนและที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์เท่านั้นที่จะ
ศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานทางด้านการสอนและการวิจัยนั้นมีเป็นจำนวนน้อย เพราะไม่มีข้อ
มูลและเอกสารในการศึกษาได้เพียงพอ ประกอบกับยังไม่มีการเก็บตัวอย่างสัตว์ครอบคลุม
ทั่วประเทศ ปัจจุบันแม้จะมีหน่วยงานที่สนับสนุนให้ทำงานด้านนี้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ รัฐจำเป็นต้องสนับสนุนให้เต็มที่ จึงจะได้ข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคตอันใกล้
ดังนั้นจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นนี้จึงทำให้ประเทศไทย |
ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีจำนวนชนิด(species)ที่แน่นอนของพวกสัตว์ไม่มี
กระดูกสันหลังเท่าใดที่พบในประเทศไทยนอกจากนั้นยังไม่สามารถบอกได้ว่าขณะนี้พบสัตว์
กลุ่มนี้แล้วกี่เปอร์เซ็นต์และยังไม่ได้พบอีกกี่เปอร์เซ็นต์เพราะการวิจัยเกี่ยวกับทางด้าน
อนุกรมวิธานของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีนักวิชาการตามกรม กองต่างๆและอาจารย์ในมหา
วิทยาลัยบางคนเท่านั้นที่ทำงานทางด้านนี้ และก็มีปัญหาตามมาดังที่กล่าวมาแล้วจึงทำ
ให้งานทางด้านนี้ก้าวหน้าไปช้ามาก |
จำนวนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มโดยประมาณที่พบในประเทศไทย
แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
- Phylum Coelenterata พบพวกปะการังในอ่าวไทยประมาณ 90 ชนิด
- Phylum Platyhelminthes พบพวกพยาธิใบไม้ปอด 6 ชนิด
- Phylum Mollusca พบพวกหอยฝาเดียว มากกว่า 1,000 ชนิด หอยสองฝา มากกว่า 300 ชนิดและหมึก 24 ชนิด
- Phylum Annelida พบพวกหนอนทะเล 50 ชนิด
- Phylum Arthropoda พวก Crustaceans: ปูน้ำจืด 120 ชนิด, ปูน้ำเค็ม 580 ชนิด, กุ้งน้ำจืด 20 ชนิด, กุ้งน้ำเค็ม 140 ชนิด, กั้งตั๊กแตน 62 ชนิด, พวกที่เป็น planktonได้แก่พวก Amphipod 54 ชนิด, Copepod 150 ชนิด, Ostracod 32 ชนิด, พวกที่เป็นปรสิต (Isopod และ Copepod) 75 ชนิด และแมงดาทะเล 2 ชนิด
- Phylum Chaetognatha พบ 13 ชนิด
- Phylum Echinodermata พบ 55 ชนิด
|
|
|
|
|
|