ระบบนิเวศ(Ecology)
         1. กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปอาศัยอยู่รวมกันในแหล่งที่อยู่ใด ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา สาหร่าย อาศัยอยู่ใน
สระน้ำ เป็นต้น แต่ถ้ามีสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวอาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณใด ๆ ในช่วง
เวลาใดเวลาหนึ่ง จะเรียกว่า ประชากร (Population) เช่น ประชากรลิงแสมในป่าชายเลน จังหวัดระนอง เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีถึง 2000 ตัว เป็นต้น
    2. แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง บริเวณที่สิ่งมีชีวิตใช้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งหา
อาหาร แหล่งผสมพันธุ์และเลี้ยงตัวอ่อน แหล่งหลบภัยหรือศัตรูธรรมชาติ เป็นต้น
    3. ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่ง
แวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตด้วยกันหรืออาจเป็นสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่
อาศัยก็ได้ จึงอาจสรุปได้ว่า
        - วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ เรียกว่า (Ecology)
        - ระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)
        -ระบบนิเวศมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ได้แก่ แม่น้ำ
ลำคลอง หนองบึง
    ทะเลสาบ ฯลฯพบสิ่งมีชีวิตที่ ดำรงชีวิตต่าง ๆกัน เช่นอาศัยอยู่ที่ผิวน้ำ (Neuston)
ว่ายน้ำอิสระ (Nekton) ล่องลอยตามกระแสน้ำ(Plankton) อยู่ที่ผิวหน้าดิน (Benthos)
เป็นต้น
        - ระบบนิเวศในทะเลหรือมหาสมุทร ได้แก่ หาดทราย หาดหิน หาดโคลน
ไหล่ทวีป ทะเลลึก ฯลฯสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตในแต่ละบริเวณต้องมีการปรับตัวให้ทน
ทานต่อความ ผันแปรของสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้แก่ความเค็มน้ำขึ้นน้ำลง
แรงกระแทกของคลื่น ความเข้มแสง ศัตรู ธรรมชาติ
        - ระบบนิเวศป่าชายเลน พบบริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อยเนื่องจาก
เป็นเขตรอยต่อของน้ำจืดกับน้ำเค็มความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก
สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการผันแปรได้ดี ตัวอย่างเช่น โกงกาง
แสมประสัก ลำพู สำแพนตะบูนเสม็ด ปรงหนู เหงือกปลาหมอ ปูแสม กุ้งกุลาดำ
หอยแครง แม่หอบ ฯลฯ
    

   4. ปัจจัยทางกายภาพ (Physical factor) หมายถึง สภาพแวดล้อม ซึ่งไม่มีชีวิต แต่มี
อิทธิพล ต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ปัจจัยใดที่ขาดไปแล้วทำให้สิ่งมี
ชีวิตเหล่านั้นดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ เรียกว่า (Limiting factor)เช่น อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อ

        - กระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชและสัตว์เลือดเย็น
        - การอพยพย้ายถิ่นของสัตว์เลือดอุ่น
        - การแพร่กระจายของพืชและสัตว์ต่าง ๆ
    แสงสว่าง มีอิทธิพลต่อ
        - อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
        - การหุบบานของดอกไม้ , การออกดอกและติดผลของพืช
        - พฤติกรรมการหาอาหารของสัตว์
    น้ำมีอิทธิพลต่อ
        - การแพร่กระจายของพืชและสัตว์
        - การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ฯลฯ
    5. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factor) หมายถึง สภาพแวดล้อมที่มีชีวิต ซึ่งก็คือ กลุ่มสิ่งมี ชีวิตนั่นเองสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีบทบาทแตกต่างกันจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ
        
5.1 ผู้ผลิต (Producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เองตามธรรมชาติ (Autotrophic organism) โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง มีบทบาทสำคัญในการผลิต
อาหารในระบบนิเวศ ได้แก่ แพลงค์ตอนพีช (Phytoplankton) สาหร่ายสีเขียว (Green algae) และพืชทุกชนิด เป็นต้นพืชบางชนิดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้และมีอวัยวะ
ดักจับแมลงเป็นอาหาร จึงมีทั้ง ลักษณะของผู้ผลิตและผู้บริโภค เรียกว่า มิกโซโทรพ
(Mixotroph) เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิงกาบหอยแครง หยาดน้ำค้าง เป็นต้น
แบคทีเรียบางชนิดสร้างอาหารได้โดยการสังเคราะห์แสงทางเคมี (Chemosynthesis)
        5.2 ผู้บริโภค (Cunsumer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ (Heterotrophicorganism)แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้ 
               - ผู้บริโภคพืช (Herbivore) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร จัดเป็นผู้
บริโภคลำดับที่ 1 หรือผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary consumer) เพราะได้รับการถ่ายทอด
พลังงานจากพืชโดยตรง เช่น วัว ควาย กระต่าย หนอน ตั๊กแตน ฯลฯ

               - ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์เป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต งู ฯลฯ
               - ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore)หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและ
สัตว์เป็นอาหาร เช่น มนุษย์ ไก่ เป็ด ฯลฯ
               - ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ (Scavenger) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่กินซากพืชซาก
สัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังเป็นอาหาร เช่น นกแร้ง ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ปลวก เป็นต้น
    5.3 ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรง ชีวิตโดยการหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากพืชซากสัตว์กลายเป็นอินทรียสาร โมเลกุลเล็ก ๆ แล้วดูดซึมเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย
เป็นต้น
               - หากไม่มีผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ซากพืชซากสัตว์จะไม่เน่าเปื่อยและกองทับ
ถมกันจนล้นโลก ย่อยสลายอินทรียสารเป็นตัวกลางเชื่อมโยงการหมุนเวียนสารในระบบนิ
เวศและได้รับการถ่ายทอดพลังงานเป็นลำดับสุดท้าย
    6. ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ที่มีการกินกัน เป็นอาหารเป็นทอด ๆตามลำดับ ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานเกิดขึ้น
ดังนี้
    7. สายใยอาหาร (Food web) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่มี
การกินกันเป็น อาหารอย่างซับซ้อนหลายทิศทาง ทั้งนี้เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละ
ชนิดกินอาหารได้หลายชนิดและเป็นอาหารของสัตว์ อื่น ๆ หลายชนิดเช่นกัน ดังนั้นสายใยอาหารจึงประกอบด้วยห่วงโซ่อาหารจำนวนมากที่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนี้