1. ความสำคัญเป็นแหล่งอาศัยและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นตัวกลางทำให้เกิดความสมดุลระหว่างทะเลกับบกเป็น
แหล่งพันธุ์ไม้ต่างๆที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายอย่างเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์เป็นฉากกำบังลมป้องกัน
การชะล้างที่รุนแรงที่เกิดจากลมมรสุมและเป็นเสมือนกำแพง ป้องกันการพังทลายของดินรากของพันธุ์ไม้ช่วยกรอง
สิ่งปฏิกูลต่างๆ ในน้ำ
2. ลักษณะของป่าชายเลนป่าชายเลน เกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ ประกอบไปด้วยทราย
โคลนและดิน บริเวณที่ติดกับปากแม่น้ำเป็นดินเหนียว ถัดไปเป็นดินร่วนและบริเวณที่ลึกเข้าไปจะมีทรายมากขึ้น
นอกจากนี้ บริเวณต่างๆ ของป่าชายเลนยังแตกต่างในด้านของความเป็นกรด-เบส ความเค็มรวมทั้งความสมบูรณ์
ของดินซึ่งวัดได้จากปริมาณของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K)
3. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนพืชจะมีรากค้ำจุน เพื่อช่วยพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม
เมื่ออยู่ในดินเลนเมล็ดพืชจะงอกตั้งแต่อยู่บนต้นแม่มีโครงสร้างของใบที่ทำให้สามารถเก็บสะสมน้ำได้มากและมี
โครงสร้างที่ป้องกันการสูญเสียน้ำโดยการคายน้ำ
4. สิ่งมีชีวิตที่อาศัยตามชายฝั่งป่าชายเลนพืช ได้แก่ โกงกาง แสมดำ โปรงขาว โปรงหนู รังกะแท้ ชะคราม
ตะบูน ตีนเป็ดทะเล ตาตุ่ม ทะเล ปรงทะเล เทียนทะเล ชลู ลำพู ลำแพน ถั่วขาว ผักเบี้ยทะเลสัตว์ที่อยู่ตามรากพืช
เช่น ปู หอยต่างๆ สัตว์ที่อยู่ตามหน้าดินตามชายเลน ได้แก่ ปลาตีน ปูเสฉวน ปูแสม ทากทะเล หอยขี้นก กุ้ง
ดีดขัน ปู ก้ามดาบ สัตว์ในดิน ได้แก่ ไส้เดือนทะเล หอยฝาเดียว |