|
|
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆ
ใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของ
ท่อทางเดินอาหาร สมมาตร (symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการ
พัฒนาของระบบอื่นๆ แบ่งออกเป็นสอง ซับคิงดอม (Subkingdom) คือ ซับคิงดอมพารา
ซัว (Parazoa) ได้แก่ฟองน้ำและซับคิงดอมเมทาซัว (Metazoa) ได้แก่สัตว์อื่นๆที่เหลือ ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง 30 ไฟลัมในปัจจุบันแต่ที่สำคัญมี 9 ไฟลัมคือ |
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata)
3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes)
4. ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda)
5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
6. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) |
1.ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีสมมาตร
ลำตัวเป็นรูพรุน มีช่องน้ำเข้าและช่องน้ำออก มีโครงร่างแข็งหรือเป็นเส้นใยโปรตีนเช่น
ฟองน้ำแก้ว สกุล Euplectella ฟองน้ำน้ำจืด สกุล Spongilla ฟองน้ำถูตัว สกุล Spongia |
|
โครงสร้างของฟองน้ำ |
|
|
|
|
ฟองน้ำน้ำจืด |
ฟองน้ำ |
|
|
|
2.ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata)เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสองชั้น
มีสมมาตรแบบ รัศมี(radial symmetry)มีท่อทางเดินอาหาร แต่ไม่มีช่องตัว มีเซลล์ไนโด
ไซต์ (cnidocyte)สร้างเข็มพิษ(nematocyst) แบ่งเป็นสามชั้น(Class)
2.1 ชั้นไฮโดรชัว (Class Hydrozoa) ได้แก่ ไฮดรา (Hydra)
แมงกะพรุนไฟ (Physalia) |
|
ไฮดรา
|
|
2.2 ชั้นไซโฟซัว ( Class Scyphozoa) ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง (Aurelia) แมงกะพรุนไฟ (Chironex) |
|
|
แมงกะพรุน |
|
2.3 ชั้นแอนโทซัว (Class Anthozoa) ได้แก่ ปะการัง (coral) ปะการังเขากวาง (Acrepora) กัลปังหา(sea fan) |
|
|
สิ่งมีชีวิตในชั้นแอนโทซัว
|
|
|
|
3.ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes) ได้แก่หนอนตัว
แบนมีเนื้อเยื่อสามชั้น ไม่มีช่องตัว มีสมมาตรแบบด้านข้าง (bilateralsymmetry)มีระบบ
ย่อยอาหาร (บางชนิดไม่มี) แบ่งเป็นสามชั้น
3.1 ชั้นเทอร์เบลลาเรีย (Class Turbellaria) ได้แก่ พลานาเรีย (Dugesia) |
|
4.ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda) ได้แก่ หนอนตัวกลม มีเนื้อเยื่อสามชั้นมี
สมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวเทียม (pseudocoet) เช่น พยาธิไส้เดือน(Ascaris lumb
ricoides) โรคเท้าช้าง (Brugia malayi) |
|
พยาธิไส้เดือน |
|
5.ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)หนอนปล้อง ลำตัวแบ่งเป็นปล้อง
ชัดเจน มีเนื้อเยื่อสามชั้น มีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวที่แท้จริง (coelom) มีระบบ
ไหลเวียนและระบบประสาทแบ่งเป็นสามชั้น
5.1 ชั้นโพลีคีตา (Class Polychaeta) ได้แก่ แม่เพรียง (Nereis) หนอนฉัตร (tube worm) |
|
5.2 ชั้นโอลิโกคีตา (Class Oligochaeta) ได้แก่ ไส้เดือนดิน (Pheretima) |
|
วงชีวิตไส้เดือนดิน |
|
5.3 ชั้นไฮรูดิเนีย (Class Hirudinea) ได้แก่ ปลิง (leech) ทากดูดเลือด (landleech) |
|
6.ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)ลำตัวนิ่มมักมีเปลือกหุ้มเนื้อเยื่อสาม
ชั้นมีสมมาตรด้านข้างมีช่องตัวลดรูปจนมีขนาดเล็กมีระบบไหลเวียนและระบบประสาท
แบ่งเป็นห้าชั้น
6.1 ชั้นแอมฟินิวรา (Class Amphineura) ได้แก่ ลิ่นทะเล (chiton) |
|
ลิ่นทะเล
|
|
6.2 ชั้นแกสโทรโพดา (Class Gastropoda) ได้แก่ หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยทาก (slug) ทากทะเล (nudibranch) |
|
|
|
|
|
|
7.ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)สัตว์ที่มีลำตัวแบ่งเป็นปล้อง
มีโครงร่างภายนอกหรือเปลือกปกคลุม ขาต่อเป็นข้อๆ สมมาตรแบบด้านข้างมีระบบไหล
เวียนและระบบประสาทแบ่งเป็น สองซับไฟลัมคือ เคลิเซอราตา (Chelicerata) ได้แก่
แมงดาทะเล และแมงมุม และซับไฟลัมแมนดิบูลาตา (Mandibulata)เช่น กุ้งู ปู ตะขาบ
กิ้งกือ แบ่งเป็นชั้นดังนี้
7.1 ไซโฟซูริดา (Class Xiphosurida) ได้แก่ แมงดาจาน (Tachypleus gigas)
|
|
|
แมงดาจาน |
|
8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)เป็นสัตว์ทะเลทั้ง
หมด ผิวหนังมีหนาม ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง ตัวเต็มวัยมีสมมาตรรัศมีมีระบบน้ำใช้ใน
การเคลื่อนที่มีระบบไหลเวียน ระบบประสาท และระบบท่อทางเดินอาหาร จำแนกเป็น
ห้าชั้น
8.1 ชั้นแอสเทอรอยเดีย (Class Asteroidea) ได้แก่ ปลาดาว หรือดาวทะเล (star fish) |
|
ดาวทะเล
|
|
8.2ไคนอยเดีย (Class Crinoidea) เช่น ดาวขนนก (feather star) พลับ
พลึงทะเล (sea lilly) |
|
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตร
ด้านข้าง มีช่องตัวอย่างแท้จริง มีระบบต่างๆพัฒนาสูงสุดจำแนกเป็นสามซับไฟลัมคือ
9.1 ซับไฟลัมยูโรคอร์ดาตา (Subphhylum Urochordata) ได้แก่ เพรียง
หัวหอม (tunicate) |
|
เพรียงหัวหอม |
|
9.2. ชั้นแมมมาเลีย (Class Mammalia) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ แพลทิปัส ปากเป็ด (duck-billed platypus) สัตว์มีถุงหน้าท้อง (marsupials) เช่น จิงโจ้ โอพอสซัม แทสมาเนียนเดวิล สัตว์มีรก (placenta) เช่น กระรอก กระต่าย วัว ควาย ช้าง แรด ลิง คน |
|
|
แทสมาเนียนเดวิล |
แพนด้าแดง |
|
|
|
นักวิทยาศาสตร์พบว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีก 2 ชนิด คือ ไวรัส (Virus) กับไวรอยด์ (viroid) มีลักษณะแตกต่าง จากพวกโพรคาริโอตและยูคาริโอต กล่าวคือ โครงสร้างยังไม่เป็น
เซลล์ ไม่มีทั้งเยื่อหุ้มเซลล์และ ไซโทพลาซึม เป็นพียงอนุภาค (virion) ที่ประกอบด้วย
DNA หรือ RNA และโปรตีนเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์บางคนจัดให้อยู่ในอาณาจักรไวรา ไวรัสประกอบด้วย DNAหรือ RNA ที่มีโปรตีน (capsid) ห่อหุ้มและมีเอนไซม์สำหรับใช้
ในเมแทบอลิซึม ส่วนไวรอยด์มีเฉพาะRNA ที่ไม่มีโปรตีนหุ้มและไม่มีเอนไซม์เลยโรค
บางชนิดที่เกิดจากไวรัส ได้แก่
ไข้เลือดออกไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัด
โรคตับอักเสบชนิดบี
โรคเอดส์ Arbovirus
Orthomyxovirus
Picornavirus
Hepatitis B Virus
Human Immunodeficiency Virus |
|
เชื้อไวรัส HIV |
|
|
|
|
|
|
|