หน้าหลัก           ผังเว็บไซต์           ผู้จัดทำ
 
 
   กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

การค้นพบของเมลเดล  |   การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม   |   การกลายพันธุ์

   :: การทดลองของเมลเดล ::

     1. เมนเดล ผสมต้นถั่วลันเตาจนได้พันธุ์บริสุทธิ์ทั้ง พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์
     2. เมนเดล นำต้นถั่วพันธุ์สูงเป็นพ่อพันธุ์ หรือแม่พันธุ์ มาผสมกับต้นถั่วพันธุ์เตี้ยซึ่งเป็นแม่พันธุ์หรือพ่อ พันธุ์ เป็นการผสมข้ามต้นต่างลักษณะ
     3. เมนเดล นำต้นถั่วรุ่นที่สอง (F2) มาผสมพันธุ์กันเอง


   :: สรุปผลการทดลองของเมลเดล ::

     1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมความสูงของต้นถั่วมีลักษณะเด่น คือ ลักษณะลำต้นสูงกับลักษณะ ด้อย คือ ลักษณะลำต้นเตี้ย ลักษณะทางพันธุกรรมของพ่อจะอยู่ในละอองเกสรตัวผู้ ของแม่จะอยู่ในรังไข่ ลักษณะพันธุกรรมจึงถ่ายทอดถึงลูกหลานได้
     2. ลักษณะเด่นจะข่มลักษณะด้อยในรุ่นลูก (F1) จึงพบรุ่นลูกมีลักษณะเด่นหมด ทั้งนี้ภายในข้อจำกัด พ่อและแม่ ต้องเป็นพันธุ์เด่นแท้และด้อยแท้
     3. ในชั่วรุ่นหลาน (F2) โดยปล่อยให้รุ่นลูก (F1) ผสมพันธุ์กันเองจะได้ลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยใน อัตราส่วน 3 : 1

ดูภาพขนาดใหญ่


ลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาที่เมนเดล ใช้ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
  • ลักษณะของเมล็ด - เมล็ดกลม และ เมล็ดย่น (round & wrinkled)
  • สีของใบเลี้ยง - สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)
  • สีเปลือกเมล็ด - สีขาว และ สีเทา (white & gray)
  • ลักษณะของฝัก - ฝักพอง และ ฝักแฟบ (full & constricted)
  • ลักษณะสีของฝัก - สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)
  • ลักษณะตำแหน่งของฝัก-ด้านข้างลำต้น และปลายยอด (axial & terminal)
  • ลักษณะความสูงของต้น - ต้นสูง และ ต้นเตี้ย (long & short)

     ยีนเด่น (Dominant) คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะนั้นออกมาได้ แม้มียีนเพียงยีนเดียว เช่น ยีนผมหยิก อยู่คู่กับยีนผม เหยียด แต่แสดงลักษณะผมหยิกออกมา แสดงว่า ยีนผมหยิกเป็นยีนเด่น      ยีนด้อย (Recessive) คือ ยีนที่สามารถแสดงลักษณะให้ปรากฏออกมาได้ก็ต่อเมื่อบนคู่ของโครโมโซม นั้นปรากฏแต่ยีนด้อย เช่น การแสดงออกของลักษณะผมเหยียด จะต้องมียีนผมเหยียดบนโครโมโซมทั้งคู่




ที่มา : http://www.thaiguppy.com
http://school.obec.go.th
http://nara2.homeip.net

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี