ยินดีต้อนรับทุกท่าน....เข้าสู่บทเรียนออนไลน์ จัดทำขึ้นโดยทีม " วิ้วว้าว " ในหัวข้อเรื่อง " ระบบนิเวศ " ในเว็บไซต์นี้จะมีัเนื้อหาสาระ ความรู้มากมาย..ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ   | โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต  |  ประเภทของระบบนิเวศ  |  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

           1. ความสำคัญ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ, เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่างๆเป็นแหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร

            2. ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด พืช เช่น จอก สาหร่าย แหน สัตว์ เช่น หอปลาต่างๆ กุ้ง

            3. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีพ
   - ปัจจัยต่างๆ ตามธรรมชาติ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ปริมาณก๊าซออกซิเจนปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณแร่ธาตุ ความขุ่นใสของน้ำ
   - ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ชนิด และปริมาณของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
   - ปัจจัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ จะไปทำลายสิ่งมีชีวิตใน น้ำบางชนิดทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทอดพลังงานและสมดุลทางธรรมชาติในแหล่งน้ำ

            4. สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ
   - ผู้ผลิต ได้แก่ พืชต่างๆ ซึ่งในแหล่งน้ำมีทั้งที่เป็นพวกแพลงก์ตอน (Plankton) สาหร่ายต่างๆเฟิร์น และพืชดอก
   - ผู้บริโภค ได้แก่ พวกแพลงก์ตอนสัตว์ แมลงต่างๆ และสัตว์พวกกินซากอินทรีย์ผู้ย่อยสลายมีทั้งพวกแบคทีเรีย เห็ด รา

            5. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด มี 2 ระบบ คือ
                ก. ชุมชนในแหล่งน้ำนิ่ง
   - ผู้ผลิต คือ พืชที่มีรากยึดอยู่ในพื้นดินใต้ท้องน้ำ เช่น พวก กก บัว กระจูด นอกจากนี้ยังมีแพลงก์ตอนพืช และพืชลอยน้ำต่างๆ เช่น สาหร่าย ไดอะตอม แหน จอก เป็นต้น
   - ผู้บริโภค คือ สิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่ตามท้องน้ำ แพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้ ของพืชน้ำ เช่น หอยโข่ง หอยขม ไฮดรา พลานาเรีย



ภาพ กระยางหากินอาหารในแหล่งน้ำจืด
ที่มา : http://learners.in.th
               

    ข. ชุมชนในแหล่งน้ำไหล
    เขตน้ำไหลเชี่ยว (Rapid Zone) เป็นบริเวณที่กระแสน้ำไหลปรง ก้นลำธารสะอาดไม่มีการ สะสมของตะกอนใต้น้ำเหมาะกับการดำรงของสิ่งมีชีวิตพวกที่สามารถเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ หรือคืบคลานไป มาได้สะดวก หรือ พวกที่สามารถว่ายน้ำที่สู้ความแรงของกระแสน้ำได้ จะไม่พบแพลงก์ตอนเขตน้ำไหลเอื่อย (Pool Zone) เป็นบริเวณที่มีความลึกและความเร็วของกระแสน้ำลดลง มีการตกตะกอนของอนุภาคใต้น้ำ การทับถมของตะกอนมากเหมาะกับพวกที่ขุดรูอยู่และพวกที่ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระ รวมทั้งแพลงก์ตอนด้วย
      - การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในชุมชนแหล่งน้ำไหลแรง
      - สามารถเกาะติดแน่นกับพื้นที่ผิวอาศัยอยู่
      - มีโครงสร้างสำหรับเกาะหรือดูดติดกับพื้นผิวอย่างมั่นคง
      - สามารถสกัดเมือกเหนียวใช้ยึดเกาะ เช่นหอย
      - มีรูปร่างเพรียว เพื่อลดความต้านทานของกระแสน้ำ
      - มีรูปร่างแบนราบไปกับพื้นที่ผิวที่เกาะ
      - ชอบว่ายทวนน้ำอยู่เสมอ
      - เกาะติดกับพื้นผิวหรือซุกซ่อนตัวตามวัตถุใต้น้ำ เขตน้ำไหลเชี่ยว (Rapid Zone)     เป็นบริเวณที่กระแสน้ำไหลปรง ก้นลำธารสะอาด ไม่มีการ สะสมของตะกอนใต้น้ำเหมาะกับการดำรงของสิ่งมีชีวิตพวกที่สามารถเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้หรือคืบคลานไปมาได้สะดวก หรือ พวกที่สามารถว่ายน้ำที่สู้ความแรงของกระแสน้ำได้ จะไม่พบแพลงก์ตอนเขตน้ำไหลเอื่อย (Pool Zone)

กลับ

 
ที่มา : http://learners.in.th