ยินดีต้อนรับทุกท่าน....เข้าสู่บทเรียนออนไลน์ จัดทำขึ้นโดยทีม " วิ้วว้าว " ในหัวข้อเรื่อง " ระบบนิเวศ " ในเว็บไซต์นี้จะมีัเนื้อหาสาระ ความรู้มากมาย..ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ   | โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต  |  ประเภทของระบบนิเวศ  |  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

โครงสร้างของระบบนิเวศ (ecosystem structure)
   ประกอบด้วย ส่วนที่มีชีวิต และ ส่วนที่ไม่มีชีวิต ซึ่งในการศึกษาจะวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ ชนิด ปริมาณ สัดส่วน การกระจาย

   . ส่วนที่มีชีวิต(Bioptic component) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งแบ่งตามลำดับขั้นในการบริโภค (trophic level) ได้เป็น 3 ระดับ คือ
        (1) ผู้ผลิต (producers) ส่วนมากคือพืชที่สังเคราะห์แสงได้ และสิ่งมีชีวิตที่ผลิตอาหารเองได้ (autotroph) เช่น แบคทีเรียบางชนิด
        (2) ผู้บริโภค (consumers) คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ด้วยตนเอง (heterotroph) ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งเป็นขั้น ๆ  ดังนี้ผู้บริโภค
            : สัตว์กินพืช (herbivores)
            : สัตว์กินสัตว์ (carnivores)
            : สัตว์กินทั้งสัตว์และพืช (omnivores)

         (3) ผู้ย่อยสลาย (decomposers) ได้แก่ รา แบคทีเรีย/จุลินทรีย์ อาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิต
อื่นที่ตายไปแล้ว โดยการย่อยสลายสารประกอบเชิงซ้อนเหล่านั้น (อินทรียสาร) เสียก่อนแล้ว จึงดูดซึมส่วนที่ย่อยสลายได้ไปใช้เป็นสารอาหารบางส่วนส่วนที่เหลือจะปลดปล่อยออกไปสู่ดินเป็นประโยชน์แก่ผู้ผลิตต่อไป


ภาพตัวอย่างโครงสร้างของระบบนิเวศ
ที่มา : http://www.prd.go.th


   . ส่วนที่ไม่มีชีวิต (Abiotic component) ได้แก่ ส่วนที่ไม่มีชีวิต แบ่งออกเป็น
             1. อนินทรียสาร เช่น คาร์บอน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพตัสเซียม น้ำและออกซิเจน เป็นต้น
             2. อินทรียสาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฮิวมัส เป็นต้น สารอินทรีย์เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
             3. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม ความชื้น ที่อยู่อาศัย เป็นต้นข. ส่วนที่ไม่มีชีวิต (Abiotic component) ได้แก่ ส่วนที่ไม่มีชีวิต แบ่งออกเป็น
                 3.1 อนินทรียสาร เช่น คาร์บอน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพตัสเซียม น้ำและออกซิเจน เป็นต้น
                 3.2 อินทรียสาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฮิวมัส เป็นต้น สารอินทรีย์เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
                 3.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ ความเป็นกรด-ด่างความเค็มความชื้น ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ที่มา : http://www.prd.go.th