t
โลกอายุ 4.5 พันล้านปี
มีโครงสร้างทรงกลมเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุดคือ "เปลือกโลก" (Crust) ชั้นต่อมาคือ
"เนื้อโลก" (Mantle) แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) และแก่นโลกชั้นใน (Inner core)
เปลือกโลกด้านนอกเย็นแล้ว ส่วนข้างในเป็นหินหลอมเหลว ใจกลางเป็นเหล็กหลอม
บริเวณเปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นๆ
(plates) เรียกว่า "แผ่นเทคโทนิก" (Tectonic Plate) แต่ละแผ่นเคลื่อนตัวเฉลี่ย 10
เซ็นติเมตรต่อปี แผ่นเหล่านี้เคลื่อนตามหินหลอมเหลวในเนื้อโล
แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดที่บริเวณรอยต่อของแผ่นต่างๆ
ซึ่งทั่วโลกมีทั้งหมด 12 แผ่น แผ่นที่ใหญ่สุดคือ "ยูเรเซียน" (Eurasian)
ซึ่งไทยก็อยู่ในแผ่นนี้ และใกล้กับแผ่น "ออสเตรเลียน" (Australian) แผ่น "ฟิลิปปิน"
(Philippine) ส่วนแผ่นอื่นๆ ไล่จากทะเลแปซิกฟิกไปทางตะวันออก คือ "แปซิฟิก"
(Pacific) ยวน เดอ ฟูกา (Juan de Fuca) นอร์ธ อเมริกา (North America) "แคริบเบียน"
(Caribbean) "เซาธ์ อเมริกัน" (South American) "สก็อตเทีย" (Scotia) "แอฟริกา"
(Africa) "อราเบียน" (Arbian) และอินเดียน (Indian
)
แผ่นดินสะเทือนเกิดขึ้น
เมื่อแผ่นเทคโทนิกที่ต่อกัน 2 แผ่นเลื่อนเบียดกันอย่างกระทันหั
แนวหินที่แตกระหว่างรอยต่อของ 2
แผ่นเคลื่อนเบียดกัน ซึ่งจุดที่เกิดการเบียดหรือชนเรียกว่า "จุดโฟกัส" (focus)
หรือจุดไฮโปเซ็นเตอร์ (hypocenter) ซึ่งเป็นจุดที่คาดว่าเกิดการเบียดของ 2 รอยต่อ
และตรงจุดนี้จะส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงบนผืนโลก
หรือผืนน้ำเหนือขึ้นไป
คลื่นแห่งแผ่นดินไหวสามารถจับได้ด้วยประเภทคลื่นที่แตกต่างกัน
2 ชนิด คือคลื่นปฐมภูมิ (หรือพี) และคลื่นทุติยภูมิ (หรือเอส)
ซึ่งคลื่นพีจะเดินทางอย่างรวดเร็ว ขณะที่คลื่นเอสเดินทางช้ากว่ามาก
ชั้นหินที่ถูกคลื่นพีกระทบจะสั่นไปมาในแนวที่คลื่นพุ่งไปตามแนวนอน
จึงตกอยู่ในสภาพถูกอัดและขยายตัว ส่วนคลื่นเอสนั้น อนุภาคต่างๆ
ในชั้นหินจะเคลื่อนที่ในแนวขึ้นลงที่ตั้งฉากกับทิศการพุ่งไปของคลื่น
คลื่นพีนั้นตามปกติจะมีความเร็วมากกว่าคลื่นเอส ดังนั้น
การวัดเวลาที่คลื่นทั้งพีและเอสเดินทางถึงเครื่องรับสัญญาณ ซึ่งอยู่ที่ตำแหน่งต่างๆ
บนผิวโลกจะทำให้นักธรณีวิทยารู้ทันทีว่าจุดโฟกัสของการระเบิดอยู่ที่ใด
จุดบนพื้นผิวหรือผืนน้ำ
เหนือจุดโฟกัสเรียกว่า "อิพิเซ็นเตอร์" (epicenter)
ซึ่งจะเป็นจุดหลักบนเปลือกโลกในการรับแรงสะเทือนจากเนื้อโลก
และตรงจุดนี้นี่เองหากเกิดในทะเลก็จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ หรือ
สึนามิ (ภาพจากบีบีซี) ชมภาพจำลองการเกิดแผ่นดินไหวในรูปแบบแอนิเมชันจากบีบีซีนิวส์
|