|
![]()
[Home][ประวัติผู้จัดทำ][ประวัติกล้วยไม้ไทย][ลักษณะทั่วไป][การจำแนกกล้วยไม้][กล้วยไม้สกุลต่าง ๆ][วิธีการปลูกกล้วยไม้][การให้น้ำและปุ๋ย][การขยายพันธ์][โรคและแมลง]
|
กล้วยไม้สกุลเข็ม ได้สมญาว่าเป็น “ราชินีของกล้วยไม้แวนด้าแบบมินิหรือแบบกระเป๋า” เพราะเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเล็กทั้งขนาดต้น ช่อดอก ขนาดดอก และมีดอกที่มีสีสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้อื่นๆ ในธรรมชาติพบกล้วยไม้สกุลนี้กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลงไปถึงอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนด้า สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้น ใบเรียงแบบซ้อนทับกัน รากเป็นระบบรากอากาศ ออกดอกตามข้อของลำต้นระหว่างใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้าที่มีดอกขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลเข็มแท้อยู่ 4 ชนิดคือ เข็มแสด เข็มแดง เข็มม่วง และเข็มหนู แต่ที่มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ คือ เข็มแดง เข็มแสด และเข็มม่วง กล้วยไม้สกุลเข็มเป็นกล้วยไม้ที่ดอกมีสีสันสดใส มีช่อดอกแข็งชูตั้งขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นเป็นระเบียบ สามารถให้ดอกพร้อมกันได้หลายช่อ ปลูกเลี้ยงง่าย จึงนิยมนำกล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum) ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมแอสโคเซ็นด้า (Ascocenda) ซึ่งจะทำให้ได้กล้วยไม้ที่มีสวยงามขึ้น ออกดอกดกขึ้น ดอกบานทนและปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น หมายถึงแอสโคเซ็นด้าที่เกิดจากการผสมระหว่างแวนด้ากับเข็มโดยตรง เป็นแอสโคเซ็นด้าที่มีสายพันธุ์แวนด้าและเข็มอย่างละครึ่ง แอสโคเซ็นด้าระดับแรกมีคุณสมบัติเด่นอยู่หลายประการ เช่น สีของดอกที่สดใสสวยสะดุดตา สำหรับรายละเอียดต่างๆ เช่นจุดประ หรือแต้มสีต่าง ที่ปรากฏบนดอกแวนด้าจะเลือนลางหรือเหลือเพียงจุดละเอียดประปรายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดของดอกจัดอยู่ในประเภทดอกขนาดกลาง (intermediate type) ช่อดอกรูปทรงกระบอกตั้ง มีจำนวนดอกภายในช่อมากกว่าแวนด้า แอสโคเซ็นด้าระดับนี้จะมีนิสัยเลี้ยงง่าย โตเร็ว และให้ดอกตลอดทั้งปีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เช่น
หมายถึงลูกผสมเอสโคเซ็นด้าที่เกิดจากการใช้แอสโคเซ็นด้าระดับแรกที่ปลูกเลี้ยงจนออกดอกแล้วมาผสมกลับไปหาแวนด้าใบแบนหรือเข็มอีกที ลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองที่เกิดจากการผสมกลับไปหาแวนด้าพบว่า มีขนาดต้นโตขึ้น ขนาดดอกใหญ่ขึ้น บางต้นมีขนาดดอกเท่าแวนด้า ส่วนลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองที่เกิดจากการผสมกลับไปหาเข็มพบว่า ต้นมีขนาดและรูปทรงเล็กลง ทั้งขนาดดอกก็เล็กลงกว่าแอสโคเซ็นด้าระดับแรก แต่สีดอกจะดูสดใสสะดุดตาขึ้น สำหรับลูกผสมแอสโคเซ็นด้าระดับสองมีดังนี้
|
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548
จัดทำโดยครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2005
Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.