|
|
|
ผักบุ้งจีน
- ผักบุ้งที่ปลูกในประเทศไทย มี ประเภท
ผักบุ้งไทย (Ipomoea aquatic Var. aquatica)
มีดอกสีม่วงอ่อน
ก้านสีเขียวหรือม่วงอ่อน ใบสีเขียวเข้ม
และก้านใบสีม่วง และผักบุ้งจีน (Ipomoea
aquatica Var. reptans) ซึ่งมีใบสีเขียว
ก้านสีเหลืองหรือขาว
ก้านดอกและดอกสีขาว
ผักบุ้งจีนนิยมนำมาประกอบอาหารกว้างขวางกว่าผักบุ้งไทย
จึงนิยมปลูกเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย
ทั้งการปลูกเพื่อบริโภคสด
และการผลิตเมล็ดพันธุ์
ปัจจุบันผักบุ้งจีนได้พัฒนาเป็นพืชผักส่งออกที่มีความสำคัญ
โดยส่งออกทั้งในรูปผักสด
และเมล็ดพันธุ์
การส่งออกเฉพาะผักบุ้งจีนเพื่อบริโภคสดไม่มีตัวเลขแน่นอน
เพราะรวมผักบุ้งจีนในหมวดผักสดอื่น ๆ
ซึ่งได้แก่ ผักสดชนิดต่าง ๆ
ตลาดที่สำคัญคือฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์
สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนประเทศไทยสามารถส่งออกเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนในปี
2538 ปริมาณ 540.6 ตัน มูลค่าการส่งออก 19.8
ล้านบาท
- จากสถิติ
การปลูกผักของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี
2536/2537 มีพื้นที่ปลูกผักบุ้งจีนถึง 54,302
ไร่ ผลผลิตสด 50,237 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 925
กิโลกรัม แหล่งปลูกผักบุ้งจีนเพื่อบริโภคสด
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี
ราชบุรี นครนายก พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ขอนแก่น
อุบลราชธานี นครราชสีมา และสงขลา เป็นต้น
สำหรับแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนเป็นการค้าที่สำคัญ
ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี
- ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่นิยมรับประทานกันมาก
มีคุณค่าทางอาหารสูงประกอบด้วยไวตามิน
และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย
โดยเฉพาะไวตามิน เอ
ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยบำรุงสายตา
มีปริมาณสูงถึง 9,550 หน่วยสากล
ในส่วนที่รับประทานได้สด 100 กรัม หรือ 6,750
หน่วยสากล
ในส่วนที่รับประทานได้เมื่อสุกแล้ว 100
กรัม นอกจากนี้ยังมี แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัสและไวตามินซีเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย
คุณค่าทางอาหาร ผักบุ้งจีนสดและสุกแล้ว
ผักบุ้งจีน |
% กาก |
% น้ำ |
% เถ้า |
% โปรตีน |
% ไขมัน |
% ไฟเบอร์ |
%คาร์โบไฮเดรท รวมไฟเบอร์ |
แคลอรี |
แคลเซี่ยม (มก.) |
ฟอสฟอรัส (มก.) |
เหล็ก (มก.) |
ซัลเฟอร์ (มก.) |
โปรแตสเซี่ยม (มก.) |
สด |
28 |
90 |
1.3 |
2.7 |
0.4 |
1.1 |
5.6 |
30 |
30 |
42 |
2.5 |
44 |
469 |
สุกแล้ว |
- |
92.5 |
1.0 |
2.4 |
0.2 |
0.8 |
3.9 |
21 |
21 |
44 |
1.4 |
- |
- |
ผักบุ้งจีน |
วิตามินซี |
วิตามินเอ |
วิตามินบี 1 |
วิตามินบี 2 |
ไนอาซิน |
สด |
47 |
9550 |
0.09 |
0.16 |
0.8 |
สุกแล้ว |
10 |
6750 |
0.05 |
0.13 |
0.7 |
ที่มา : FAO, 1980 หมายเหตุ : คำนวณจาก ผักบุ้งสด 100 กรัม
ในส่วนที่รับประทานได้
|
จัดทำโดยครูพูนศักดิ์
สักกทัตติยกุล
โรงเรียสตรีศรีสุริโยทัย เขตสาทร กทม.
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2006
thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.