|
ปลาป่า.
|
|
.
|
ปลากัดป่า
- ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง
ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาล เทาหม่น
หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว
อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด
อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที
และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น
ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก
พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ
และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า
"เครื่อง" จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง
อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น
เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและเครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง
ที่ห้อยแช่น้ำอยู่
ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลาสามารถใช้ออกซิเจน
จากการฮุบอากาศได้โดยตรง
ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ
ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ
"ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496
ได้พูดถึงการขุดหาปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ
ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปนอยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป
จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ
ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก
ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง
ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก
ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่
ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง
ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี
เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่
ที่มา:รองศาสตราจารย์ ยนต์ มุสิก
ปลาทุ่งหรือปลาป่า หรือที่เรียกกันว่า "พันธุ์ลูกทุ่ง" และ "พันธุ์ลูกป่า"
เป็นพันธุ์ปลากัดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในที่ที่ลุ่มตามท้องนา หนอง บึง
ปลากัดที่อยู่ในภูมิประเทศชนิดนี้เรียกว่า
"ลูกทุ่ง" ในท้องถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า
"ปลาท่ง"
ส่วนปลากัดที่อยู่ตามป่าที่มีน้ำท่วมถึงหรือมีน้ำท่วมตลอดปี เช่น
ในที่ที่เป็นพรุหรือป่าจากริมน้ำ เช่นนี้เรียกว่าปลาป่า หรือ "ลูกป่า"
ปลากัดพันธ์ลูกทุ่ง หรือที่เรียกกันว่า
ปลากัดพันธุ์ลูกป่าในภาคใต้จะเริ่ม
"ก่อหวอด" หรือ"กัดฟอง" หรือ
"บ้วนฟอง" ในราว ๆ เดือน 6-7 หรือบางปีราว ๆ ปลายเดือน 5
ในระยะเวลาดังกล่าวเด็ก ๆ
ตามชนบทและนักเลงปลากัดจะเริ่มออกหาปลากัดกันตามท้องทุ่งหรือตามป่าตามพรุที่มีน้ำท่วมถึง
เพราะระยะเวลาในขณะนั้นเป็นเวลาที่สิ้นหน้าเก็บเกี่ยวและเกิด "ฝนพรัด"
ตก(ฝนที่เกิดจากลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก)
น้ำฝนดังกล่าวจะขังคึงอยู่ตามที่ลุ่มในท้องนา หนอง บึง
ที่ผ่านความแห้งแล้งมานานพอสมควร
ในหน้าแล้งปลากัดจะฟักตัวหรือหมกตัวอยู่ที่ชื้น
แฉะใต้ดินเรียกว่า "จำศีล"
หรือภาษาถิ่นภาคใต้เรียกว่า "ควมตัว" อยู่ใน"หม็อง"
หรือ "หมง" (เรียกที่อยู่ของปลากัดในหน้าแล้งมีขนาดเท่ากับกำปั้น
หรือผลมะพร้าว อยู่ใต้ดินในท้องนาบริเวณที่ลุ่ม เช่นหนองแห้ง ริมบึง ฯลฯ
มีลักษณะเป็นหระปุกหรืออุโมงค์เล็ก ๆ โดยมีตมเลนอยู่ภายใน ในหม็องหนึ่ง ๆ
จะมีปลากัดอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก) ปลากัดที่อยู่ในหน็องก็จะออกมา "ก่อหวอด"
หรือ "กัดฟอง" เพื่อเตรียมการผสมพันธุ์ต่อไป
เป็นตอนที่ปลากัดกำลังคึกเต็มที่ |