การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์

w\Business_Modern\Custom Businesะ‰g†abuttonนักเลงปลากัดต้นตระกูลปลากัดไทยการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์การผสมพันธุ์ปลากัดการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนการเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน

wattanam@chaiyo.com

 

พ่อพัรธุ์ปลากัดไทย

 


การเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลากัด
เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ1เดือนครึ่งถึงสองเดือน การเลี้ยงปลากัด จึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัว ก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะที่สุดสำหรับการ เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด (สุรา) ชนิดบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถเรียงกันได้โดยไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศ จะสังเกตุเห็นว่า ปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาวลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลา เพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลายพาดตามยาวลำตัว 2-3แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้
น้ำที่ใช้เลี้ยงปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง(PH) ประมาณ6.5-7.5มีความ กระด้าง75-100มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตร ควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียงเศษ3ส่วน4 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำนอกจากนั้นสถานที่เลี้ยงปลากัดไม่ควรที่จะเป็นที่โดนแสงแดด โดยตรง จะทำให้ปลาตายได้ในกรณีที่โดนความร้อนมากอุณหภูมิที่เหมาะสมควรจะเป็น25-28องศาC

อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา
ปลากัดเป็นปลาที่ชอบบกินสัตว์น้ำขนาดเล็กที่มีชีวิตเป็นอาหาร สำหรับลูกปลาวัยอ่อนนิยมให้ไรแดงกรอง สำหรับอาหารที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไรสีน้ำตาล ที่มีชีวิต อาหารที่มีชีวิตก่อนใช้เลี้ยง ต้องล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5-1.0 กรัม/ลิตร)เป้นเวลา 10-20 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารหลังจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกคั้งหนึ่ง อาหารของปลากัดนอกจากใช้อาหาร มีชีวิตแล้ว สามารถฝึกหัดให้ปลากัดกินอาหารสำเร็จรูปได้อีกด้วย การให้อาหารควรให้วันละ 1-2 ครั้ง ให้ปริมาณที่พอดีปลากิน อิ่ม การให้อาหารที่มากเกินไปอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียได้จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องน้ำให้มาก ปลามักจะกินอาหารประมาณ 5 นาที ในกรณีที่แยกขวดเลี้ยงปลากัดเป็นขวดละตัวแล้ว การให้อาหารนิยมที่จะใช้ลูกยางสีแดงที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป ดูดอาหารและใส่ทีละขวด จะทำให้สะดวกยิ่งขึ้นการถ่ายน้ำควรกระทำสัปดาห์ละ1-2 ครั้ง

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ปลากัด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน ในปัจจุบันสามารถที่จะ ขึ้นไป ปลาเพศผู้นิยมคัดเลือกปลาที่มีอายุ5-6เดือน ในขณะที่ปลาเพศเมียเป็นปลาที่มีอายุ4เดือน เพื่อเป็นการป้องกันการกัด ผสมพันธุ์ปลาได้ตลอดปี โดยอุณหภูมิน้ำควรอยู่ระหว่าง26-28องศาC ปลาที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่5-6เดือน กันในระหว่างที่ปล่อยผสมลงในขวดเดียวกัน ถ้าเลือกปลาเพศเมียที่แข็งแรงกว่าเพศผู้อาจจะมีปัญหาโดนปลาเพศเมียกัดตาย ปลาจะวางไข่ครั้งละประมาณ500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตุเห็นความสมบูรณ์ของเพศได้ชัด
ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์มีหลักควรปฎิบัติดังนี้ ปลาเพศผู้ คัดปลาที่แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว ลักษณะสีสด ปลาเพศมีโดยทั่วไปมีขนาดเล็ก มีสีเทา และมีลายตามแนวนาบ มีครีบสั้น ควรคัดเลือกแม่ปลาที่แข็งแรง ระยะนี้ควรบำรุงปลา เพศเมียให้มีความพร้อมมากที่สุด ควรให้อาหารที่มีชีวิต เมื่อปลาเพศมเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะสังเกตุเห็นบริเวณท้อง มีลักษณะอูมเป่งและบริเวณใต้ท้องมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นแสดงว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว ตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า"ไข่น้ำ"
ลักษณะที่ดีของปลากัด   ลำตัวกลม รูปร่างเหมือนปลาช่อนหรือปลาชะโดลำตัวกรม รูปร่างเหมือนปลากะพงหรือปลาหมอหน้าแด้ง หรืองอนเชิด" ปากกว้าง ปากหนาสันคอหนา กระโดงใหญ่ โคนหางหรือแป้นใหญ่ตาเล็ก ตาดำ นัยน์ตาไม่ถลนหรือโปน เรียกว่า "ตาเรียด" ไม้เท้า หรือตะเกียบ สั้นใหญ่ และแข็งแรงพุงดำ หูน้ำใหญ่ เครื่องน้อย(ครีบและหางไม่ยาวเกินไป) ช่วงหน้าสั้น ช่วงท้ายยาว สีไม่แพรวพราว(เฉพาะปลาลูกทุ่ง ลูกป่า) เครื่องบาง เป็นปลาที่เคลื่อนไหวได้เร็ว กัดเร็วว่องไว กระหม่อมสีอะไรก็ได้แต่ให้เหมือนสีตัวเป็นใช้ได้ เกล็ดหนาและเรียบแน่นลักษณะที่เป็นมงคลหรือที่เรียกกันในภาษาถิ่นใต้ว่า "หว้า"1.หูน้ำแดง2. เป็นปานดำที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง3. มีรูเล็ก ๆ ที่อวัยวะภายนอก ในที่ใดที่หนึ่ง แต่ไม่ควรมีเกิน 3 แห่ง เช่น อาจมีที่ไม้เท้า ที่หาง หรือที่กระโดง ฯลฯ ลักษณะเช่นนี้เรียกตามภาษานักเลงปลากัดว่า "ล่องลม"  

 ลักษณะที่ไม่ดีของปลากัด   ลำตัวบางยาว ถือเป็นปลาที่ไม่แข็งแรง ปากเล็ก ปากบาง หัวสั้น หัวงอนลงล่าง เครื่องมาก ที่เรียกว่า "เครื่องแจ้" เคื่องเพชรหรือหางเพชร ไม้ท้าแพร คือ เป็นสีที่แพรวพราวเกินไป แต่ถ้าเป็นปลากัดพันธุ์หม้อหรือพันธุ์ทางห็ไม่ห้าม แก้มแท่น หมายถึง เกล็ดที่แก้มเป็นแผ่นใหญ่และมีสีแพรวพราว ส่วนมากมักเป็นสีเขียว กระโดวสีแดง หรือที่เรียกว่า "โดงแดง" สำหรับปลาลูกทุ่ง ลูกป่า ถือเป็นลักษณะที่ไม่ดี คือเป็นปลาใจน้อย ดังคำห้ามที่ว่า "วัวลั่นดา" ปลาโดงแดง อย่าแทงมาก " แต่ถ้าเป็นปลาพันธุ์ลูกหม้อหรือพันธุ์พันทางก็ไม่ห้าม ตาโปนหรือตาถลน แววตาเหมือนตาแมวหรือตางูสิง เครื่องหนาหรือทีเรียกว่าเครื่องทึบ เป็นปลาที่เคลื่อนไหวช้า ไม่ว่องไว ปราดเปรียว โคนหางหรือแป้นเล็ก มักเป็นปลาที่ไม่ค่อยมีกำลัง สันหลังขาวที่เรียกว่า "หลังเขียว" เป็นปลาใจน้อย ไม้เท้าสีขาวมากมักเป็นปลาไม้เท้าอ่อน เป็นปลาที่ไม่แข็งแรง และไม่มีน้ำอดน้ำทน หางดอก คือ หางที่มีจุดประทั่วไปในแพนหาง สีของปลากัด ลูกป่าดำเหมือนฐาน เรียกว่า "ดำเกล็ดหาย" หรือ "ดำเกล็ดจม" เขียวอมดำ เรียกว่า "เขียวดำ"เขียวคราม คือ เขียวอมน้ำเงิน เขียวใหญ่ คือ สีเขียวแก่ทั้งตัวเขียวลูกหวาย คือ สีเขียวอมแดงเขียวผักตบหรือสีเขียวอ่อน คือ มีสีเขียวเหมือนสีใบผักตบ บางแห่งเรียกว่า "เขียวทืบฟอง" เป็นปลากัดลูกทุ่งหรือลูกป่าชนิดเลวที่สุดคือ มักไม่ชนะคู่ต่อสู้เลยก็ว่าได้แดงปูนแห้ง หรือเรียกว่า "สีหมวนเชี่ยน"แดงอมดำ หรือที่เรียกว่า "สีลูกขรบ" (ตะขบ) หมายถึง สีที่คล้ายกับสีผลตะขบสุกแดงก่ำ เป็นสีแดงแก่แต่มีเกล็ดสีเขียวเล็กน้อยคล้ายผลระกำสุกแดงหมอตาย สีคล้ายกับสีปลาหมอตายเป็นสีแดงจาง ๆ ซีด ๆขาว เป็นสีขาวใสจนเห็นกระดูก เรียกว่า "ขาวเห็นก้าง" เป็นสีของปลากัดที่หายากที่สุด

 


คุณเข้ามาเยี่ยมชมอันดับที่

ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2545 

Copyright(c) 2002 wattana mulgunee. All rights reserved.