|
|
||||||||||||||||||
|
บทที่ 4 ปฏิบัติการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ [ กลับหน้าแรก ] [ การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ] [ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง ] การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง 1. การต่อเครื่องพิมพ์ ในปัจจุบันผู้ใช้คอมพิวเตอร์เนื่องจากจะมีเครื่องพิมพ์ต่อพ่วงด้วยแล้ว อาจมีอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดอื่นอยู่อีก ได้แก่สแกนเนอร์ ดังนั้นการต่อพ่วงเครื่องพิมพ์ มีได้ 2 รูปแบบคือการติดตั้งเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรงและต่อผ่านสแกนเนอร์
นำสายพรินเตอร์ (Printer Cable) เสียบเข้าขั้วต่อเครื่องพิมพ์และนำปลายอีกด้านหนึ่งเสียบเข้าท้ายพอร์ต Parallel คอมพิวเตอร์ โดยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตมักมีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ต่างหาก จึงต้องขั้วต่อไฟเลี้ยงเข้าเครื่องพิมพ์ด้วย
ในกรณีที่มีเครื่องสแกนเนอร์เพิ่มขึ้นมา ทำให้เราไม่สามารถต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีพอร์ต Parallel มาให้เพียง 1พอร์ต เท่านั้น การต่อต้องใช้วิธีต่อสายเคเบิ้ลของสแกนเนอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่พอร์ต Parallel ก่อนหลังจากนั้นจึงใช้สายพรินเตอร์เสียบเข้ากับ คอนเน็คเตอร์แบบ 25 Pin ที่ท้ายสแกนเนอร์อีกต่อหนึ่ง ส่วนอีกปลายหนึ่งซึ่งเป็นหัว ต่อแบบ D 36 Pin จึงนำไปต่อเข้ากับขั้วคอนเน็คเตอร์ของเครื่องพิมพ์ ในกรณีที่เป็นเครื่องพิมพ์แบบ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงกว่าพอร์ต Parallel โดยจะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงถึง 60 Mbps โดยมีการเชื่อมเป็นแบบ Daisy Chain คือสามารถเชื่อมต่อกันไปเป็นทอดๆได้ถึง 127 ชิ้น ซึ่งโดยปกติคอมพิวเตอร์จะมีพอร์ต USB มาให้ 2 พอร์ต แต่สามารถต่อเพิ่มได้ สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อผู้ใช้ได้ติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ จะต้องทำการติดตั้งโปรแกรมสำหรับการทำงานของพรินเตอร์หรือเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับพรินเตอร์ได้ ในขั้นตอนนี้ คือขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมไดร์ฟเวอร์พรินเตอร์ 2. การติดตั้งใช้งานโมเด็ม โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวการในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆ จาก เครื่องของเราเข้าสู่อิเตอร์เน็ตเข้าสายโทรศัพท์ผ่านผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) โมเด็มมีอยู่ 2 แบบ
เป็นโมเด็มแบบที่เป็นการ์ดติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้เสียบกับสล็อตบนเมนบอร์ดได้ทันที ในปัจจุบันโมเด็มที่มีจำหน่ายมักเป็นแบบ PCI และส่วน ใหญ่จะมีความเร็ว56 Kbps ตามมาตรฐาน V.9 โมเด็มรุ่นใหม่จะเป็นแบบ Plug and Play ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วระบบปฏิบัติ การจะรู้จักและไดรเวอร์จะติดตั้งให้เอง โดยจะทำงานผ่านพอร์ตอนุกรม (Serial) ในตัวเอง ดังนั้น ถ้าโมเด็มรุ่นเก่าจะต้องปิดการทำงานของพอร์ตอนุกรมเลขที่เดียวกันเสียก่อน โดยการกำหนดจากไบออสเครื่อง ข้อดีของโมเด็มประเภทนี้ก็คือ มีราคาถูก ไม่เปลืองเนื้อที่บนโต๊ะทำงาน ไม่ต้องต่อสายไฟให้เกะกะ และไม่ต้องมีอะแดปเตอร์คอยต่อไฟเลี้ยง
เป็นโมเด็มที่ใช้ติดตั้งภายนอก ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีกสองชนิดคือแบบ พอร์ต Serial และแบบพอร์ต USB (Universal serial bus) ซึ่งโมเด็มแบบนี้ จะประกอบไปด้วยกล่องพลาสติกภายในบรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส อะแดปเตอร์จ่ายไฟเลี้ยงโมเด็มและสายเคเบิ้ล ส่วนโมเด็มแบบพอร์ต USB จะไม่มีอะแดปเตอร์จ่ายไฟ เนื่องจากที่พอร์ต USB จะมีวงจรจ่ายไฟเลี้ยงให้กับสายสัญญาณอยู่แล้ว ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้งานมากขึ้น รวมทั้งยังมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงกว่า แบบพอร์ต Serial อีกด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน |
จัดทำโดยอาจารย์อดุล โตเขียว
โรงเรียนไพศาลีพิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3
โดยการสนับสนุนจากกลุ่มผลิตสื่อและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Copyright (c) 2004 Mr.Adun
Tokheaw. All rights reserved.
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547
thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2001 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.