บทบาทและความสำคัญ

 

Home 
ประวัติผู้จัดทำ 
แบบทดสอบก่อนเรียน 
บทที่ 1 
บทที่ 2 
บทที่ 3 
บทที่ 4 
แบบทดสอบหลังเรียน 

 บทที่ 1 ความหมาย ขอบเขต และความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

[ หน้าแรก ] [ ความหมาย บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์ ] [ ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ ]
[ ลักษณะและประเภทของคอมพิวเตอร์ ] [ ลักษณะและการใช้งานของคอมพิวเตอร์ ]

ความหมาย บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์ 

คอมพิวเตอร์คืออะไร

              ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง

              คอมพิวเตอร์จึงสามารถมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างอย่างที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็น ตัวอย่างเช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM ก็ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง

        

 เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน

             1. สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-code) อ่านเวลาเข้า-ออก ของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า
             2. สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
             3. สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
             4. สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
             5. สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
             6. การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย
             7. การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคาร และงานของภาครัฐต่างๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ
             8. การควบคุมระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบจราจร, ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน
             9. การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำ เพื่อการเกษตร
           10. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบการฝึกขับเครื่องบิน
           11. การใช้คอมพิวเตอร์นันทนาการ เช่นการเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง
           12. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยอี่นๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

              การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล1  จะรับข้อมูลโดยผู้ใชัเป็นผู้ป้อนคำสั่ง แล้วส่งไปยัง หน่วยประมวลผล2  ซึ่งทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ หรือประมวลผลข้อมูล โดยทำตาม โปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก3 หน่วยความจำหลักซึ่งเป็นหน่วยความจำที่หน่วยประมวลผลสามารถอ่านเขียนได้รวดเร็วมาก ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลักนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลนำมาตีความและกระทำตามได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหน่วยความจำสำรองมีไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่มีจำนวนมาก และหากจะใช้งานก็มีการถ่ายจากหน่วยความจำสำรองมายังหน่วยความ แล้วนำข้อมูลที่เก็บไว้มาประมวลผล หน่วยส่งออกหน่วยแสดงผล4 เป็นหน่วยที่นำข้อมูลที่ได้รับการประมวลมาแสดงผล

ลักษณะและประเภทของงานคอมพิวเตอร์

              ประมาณปี พ.ศ. 2500 คอมพิวเตอร์มีอยู่ในโลกนี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องในระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาแพง ใช้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาก็ไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป งานที่คอมพิวเตอร์ทำตัวอย่างเช่น

             1. งานที่ต้องจัดเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น เก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏฐ์ เป็นต้น
             2. งานที่ต้องอาศัยการประมวลผลที่รวดเร็ว มีความแม่นยำและถูกต้องที่สุด เช่นงานด้านวิทยาศาสตร์
             3. งานที่ไม่ต้องการหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยังต้องมีไฟฟ้าอยู่
             4. งานที่คนไม่สามารถเข้าไปทำได้ เช่นในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ที่มีก๊าซพิษ กัมมันตภาพรังสี หรือในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม

งานคอมพิวเตอร์กับงานการศึกษา

               ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอ น เป็นต้น    
               ตัวอย่าง ในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมฝ่ายทะเบียนวัดผ โปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น

จัดทำโดยอาจารย์อดุล  โตเขียว  โรงเรียนไพศาลีพิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์   เขต 3
โดยการสนับสนุนจากกลุ่มผลิตสื่อและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Copyright (c) 2004 Mr.Adun  Tokheaw. All rights reserved.

 จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547

thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2001 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.