ตราประจำองค์พระมหากษัตริย์
หรือที่เรียกว่า พระราชสัญจกรนั้น ใช้สำหรับประทับในเอสารสำคัญอันแสดงถึง พระราชอำนาจในการปกครองแผ่นดิน
หรือเป็นสัญลักษณ์ที่ทรงเป็นพระประมุขของชาติไทย ตราประจำพระองค์ ของรัชกาลต่าง
ๆ มีดังนี้คือ
รัชกาลที่
1 “มหาอุณาโลม” เป็นตรางา ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม
มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง (“อุ” มีลักษณะ เป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า
“ด้วง”) ตรามหาอุณาโลมนี้ หมายถึงตาที่สามของ พระอิศวร
ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์
รัชกาลที่
2 “ครุฑจับนาค” เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค
เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ฉิม” ซึ่งเป็นที่อยู่ ของพญาครุฑ
รัชกาลที่
3 “มหาปราสาท” เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ
“ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระสัญจกรเป็นรูปปราสาท
รัชกาลที่
4 “พระมหาพิชัยมงกุฎ” เป็นตรางา ลักษณะกลมรีรูปพระมหามงกุฎ
(ตรมพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ) อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
มีฉัตรปริวาร 2 ข้าง มีพานทอง 2 ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์
หรือเพชรข้างหนึ่ง (พระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชร
หมายถึง พระฉายา เมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาน) อีกข้างหนึ่ง
วางสมุดตำรา (หมายถึง ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์
และดาราศาสตร์)
รัชกาลที่
5 “พระจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี
กว้าง 5.5 ซม. ยาว 6.8 ซม. มีรูปพระเกี้ยว ยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง
2 ชั้น (หมายถึงพระเกี้ยวเจ้าฟ้าในคราวโสกัณฑ์) เคียงด้วยฉัตรปริวาร
2 ข้าง ที่ริมขอบทั้ง 2 ข้าง มีพานทอง 2 ชั้น
วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง
วางสมุดตำรา (เป็นการเจริญรอยจำลองพระราชสัญจกร
ของรัชกาลที่ 4)
รัชกาลที่
6 “มหาวชิราวุธ” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5
ซม. ยาว 6.8 ซม. รูปวชิราวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง
2 ชั้น ตั้งอยู่เหนือตั้ง มีฉัตรปริวาร 2 ข้าง (รูปตรานี้ใช้ตามพระนามของพระองค์)
รัชกาลที่
7 “พระไตรศร” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง
5.4 ซม. ยาว 6.7 ซม. รูปราวพาดพระแสงศร 3 องค์ คือพระแสงศรพรหมศาสตร์,
พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต (เป็นศรของพระพรหม,
พระนารายณ์และของพระอิศวร ซึ่งใช้ตามความหมายของพระนามเดิมคือ
“ประชาธิปกศักดิเดชน์” คำว่า “เดชน์” แปลว่า “ลูกศร”)
เบื้องบนมีรูปพระแสงจักรและพระแสงตีคูล อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
มีบังแทรกตั้งอยู่ 2 ข้าง มีลายกระหนกแทรกอยู่ระหว่างพื้น
รัชกาลที่
8 “รูปพระโพธิสัตว์” เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง
7 ซม. รูปพระโพธิสัตว์ประทับบน บัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน
พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วด้านหลังแท่นรัศมี
มีแท่น รองรับตั้งฉัตร บริวาร 2 ข้าง (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต)
รัชกาลที่
9 “พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์” เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่
กว้าง 5 ซม. สูง 6.7 ซม. รูป พระที่นั่งอัฎทิศประกอบด้วยวงจักร
กลางวงจักรมีอักขระ “อุ” รอบ ๆ มีรัศมี (วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จ ประทับที่นั่งอัฎทิศ)
   
|