|
|
[คัดกรองอย่างไร][ปัสสาวะบอกอะไร]
ปัสสาวะบอกอะไร
ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากการใช้ยาบ้า สารออกฤทธิ์ เมทแอมเฟตามีน จะถุกขับออกทางปัสสาวะ ทำให้มีการใช้วิธีตรวจปัสสาวะเป็นเครื่องช่วยพิสูจน์การเสพยาในกรณีต่าง ๆ ได้การตรวจพิสูจน์ (ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ) มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ การเก็บปัสสาวะ 1.เตรียมการ 1.1บุคลากร จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมวิธีการใช้ชุดตรวจสอบเบื้องต้นให้เข้าใจถึงความสำคัญของการเก็บตัวอย่างที่มีผลต่อการตรวจพิสูจน์ และวิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง 1.2 สถานที่ เตรียมห้องสุขาหรือสถานที่วึ่งจัดไว้สำหรับถ่ายปัสสาวะ ดังนี้ -มีความสะอาดสะดวกพอสมควร และไม่มีสบู่ ผงซักฟอก หรือสารอื่นใดวางอยู่ -ปิดวาล์วก๊อกนำทุกแห่ง -ให้ใส่สีฟ้าลงในนำโถชักโครก หรือนำที่กักเก็บไว้ เพื่อไม่ให้เจ้าของปัสสาวะนำนำไปเจือจางปัสสาวะของตน 1.3เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำป็น -ขวดพลาสติกที่สะอาดและแห้งพร้อมฝาปิด ขนาดบรรจุประมาณ 60 มิลลิเมตร สำหรับบรรจุตัวอย่างปัสสาวะ -อุปกรณ์สำหรับผนึกขวด (หากเป็นไปได้ควรจะมีเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่ตรวจเก็บติดอยู่ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยน ตัวอย่าง -ฉลากปิดขวดเก็บปัสสาวะ สำหรับบันทึกรายละเอียด -ปากกากันนำสำหรับเขียนฉลาก -แบบฟอร์มสำหรับบันทึกประวัติผู้เข้ารับการตรวจ บันทึกลักษณะปัสสาวะและผลการตรวจเบื้องต้น 1.4ช่วงเวลาการเก็บปัสสาวะ เก็บปัสสาวะภายในเวลา 24 ชั่งโมงหลังจากเสพยา 2.ดำเนินการ 2.1ควบคุมการเก็บปัสสาวะ -ควบคุมดูแลให้ผู้เข้ารับการตรวจถ่ายปัสสาวะลงในขวดเก็บตัวอย่างประมาณ 30 มิลลิเมตร มีการควบคุมมิให้มีการสับเปลี่ยนหรือปนปลอม สารอื่นใดลงในปัสสาวะ -ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะทั่วไปของตัวอย่างปัสสาวะ -อุณหภูมิประมาณ 37 C -มีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองแก่ กลิ่นเฉพาะตัว -ความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 4-8 2.2 ปิดฉลาก และผนึกขวด -เขียนฉลากและนำมาปิดบนขวดปัสสาวะ โดยมีเจ้าหน้าที่และเจ้าของปัสสาวะลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน(ห้ามปิดฉลากลงบนฝาขวด) -ผนึกขวดด้วยกระดาษกาว และเซ็นชื่อทับรอยผนึก (กรณีเป็นกลาง) การตรวจพิสูจน์เบื้องต้น (Screening Test) มีปัสสาวะที่ให้ผลบวกจากการตรวจขั้นนี้ มีความเป็นไปได้ว่าจะมีสารออกฤทธิ์ของยาบ้าหรือย่อีผสมอยู่ แต่ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องว่ามีการเสพยาบ้า หรือยาอีได้ จนกว่าจะผ่านการตรวจในขั้นยืนยันผล การตรวจพิสูจน์เบื้องต้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจ ณ จุดตรวจโดย ใช้ชุดทดสอบสำเร็จรูป ซึ่งมีความสามารถ แตกต่างกันตามชนิดของชุดทดสอบที่ใช้ ความสามารถในการตรวจวัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามชนิดชุดทดสอบที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน 1.ให้ผลบวกเมื่อปัสสาวะมีปริมาณเมทแอมเฟตามีนตั้งแต่ 500นาโนกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไป 2.ให้ผลบวกเมื่อปัสสาวะมีปริมาณเมทแอมเฟตามีนตั้งแต่ 1000 นาโนกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไป
ผลที่ได้ในขั้นต้นนี้ เป็นเพียงการตรวจพิสูจน์เพื่อการค้ดแยกตัวอย่างปัสสาวะที่คาดว่าจะมียาบ้า (สารเมทแอมเฟตามีน/แอมเฟตามีน อีเฟดรีม) หรือยาอี (สาร เอม ดี เอม เอ) ออกมาจากตัวอย่างอื่น ๆ เท่านั้น ยังไม่สามารถรายงานผลได้จนกว่าจะผ่านการตรวจยืนยันผลที่แน่นอนจากห้องปฏิบัติการ หลักเกณฑ์การเลือกใช้ชุดทดสอบ 1.ต้องครอบคลุมตัวยาที่จะตรวจหา เช่น ต้องการตรวจหายาแอมเฟตามีน หรือ เมทแอมเฟตามีน หรือทั้งกลุ่มยา 2.การอ่านผลต้องชัดเจน 3.วิธีการใช้สะดวก มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และให้ผลรวดเร็ว 4.มีความถูกต้องสูง 5.มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 6 เดือน 6.ราคาเหมาะสม การตรวจผลยืนยัน (Comfirming Test) เป็นการตรวจเพื่อยืนยันว่าในตัวอย่างปัสสาวะที่ให้ผลบวกในขั้นตอนการตรวจพิสูจน์เบื้องต้นนั้น มียาบ้าหรือยาอีผสมอยู่จริงหรือไม่โดยการตรวจปัสสาวะอีกครั้งอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการ ในการตรวจยืนยันผล บางครั้งจำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจพิสูจน์ร่วมกันหลาย ๆ วิธี เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องแม่นยำ การส่งตัวอย่างเพื่อตรวจยืนยันผลให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1.ตรวจสอบความเรียบร้อยของตัวอย่างที่ให้ผลบวกในขั้นตอนการตรวจเบื้องต้นตั้งแต่ฉลาก การปิดผนึกเลขลำดับ แล้วจัดเก็บตัวอย่างทั้งหมดลงในภาชณะที่แข็ง แรง ปิดสนิท เก็บตัวอย่างในสภาพแช่เย็น 2.นำส่งตัวอย่างปัสสาวะที่จัดเตรียมไว้ไปยังสถานตรวจพิสูจน์ โดยให้เจ้าหน้าที่ (ผู้มีบัตรประจำตัว) เป็นผู้นำส่งด้วยพร้อมหนังสือนำส่งที่มีรายละเอียดจำนวนตัว อย่างผลการตรวจเบื้องต้น หน่วยงาน/สถานที่เก็บตัวอยาง และบัญชีรายชื่อ 3.ในระหว่างการนำส่งตัวอย่างต้องควบคุมป้องกัน การสับเปลี่ยนปนปลอมสูญหายของตัวอย่างหรือการเสื่อมสลายของตัวยาโดยความร้อน
ข้อมูลทดสอบเบื้องต้น และรายละเอียดอื่น ๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกแห่งหรือที่ กองวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-5910203-14 ต่อ 9161-9162 โทรสาร 02.5805106 การนำผลการตรวจไปใช้ประโยชน์ 1.ข้อมูลจากการตรวจพิสูจน์เบื้องต้นใช้สำหรับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาบ้าในบางกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่นนักเรียน นักศึกษา และไม่ควรนำไป ใช้ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดหรือเพื่อการตัดสิทธิประโยชน์ของผู้อื่น 2.ข้อมูลจากการตรวจยืนยัน นอกเหนือจากการใช้เพื่อการ บำบัดรักษา และการเฝ้าระวังหรือใช้เป็นข้อมูลสำหรับการป้องกันและปราบ ปรามการแพร่ระบาดแล้ว ยังสามารถใช้ประกอบการดำเนินคดีอันเกี่ยวข้องกับยาบ้าได้อีกด้วย
|
คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่
ตั้งแต่วันจันทร์ที่
7 ตุลาคม 2545 Copyright(c) 2001 Miss Thanaporn Iamsoponkul. All rights reserved. |