|
|
[ ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศ]
[ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศ2] [ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศ3] [ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศ3] [ ประเภทของภูมิอากาศ] [หุ่นยนต์แบ่งได้กี่ประเภท] [ลมประจำ] [แบบทดสอบ] [แบบทดสอบ2]
|
4. ฤดูกาล ประเทศไทยตอนบน เมื่อพิจารณาตามลักษณะอุตุนิยมวิทยาแล้วสามารถแบ่งฤดูกาล ของประเทศไทยออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้คือ 4.1 ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม (ประมาณ 5 เดือน) ทั้งนี้ จะเห็นชัดเจนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวัน ตก 4.2 ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธุ์ (ประมาณ 3 เดือน) ซึ่งเป็นระยะที่อากาศในประเทศไทยจะหนาวเย็นเกือบทั่วไปเว้นแต่ทางภาคใต้ อากาศไม่ค่อย หนาวเย็นนัก และฝั่งตะวันออกของภาคใต้มีฝนตกชุกโดยเฉพาะตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป นับว่าเป็นฤดูฝนของภาคใต้ 4.3 ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธุ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม (ประมาณ 3 เดือน) ซึ่งเป็นระยะที่มีอากาศร้อนโดยทั่วไป และจะร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายน 5. อุณหภูมิ ประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น 2 อาณาเขตอย่างกว้าง ๆ คือ ประเทศไทยตอนบนได้ แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกส่วนอีกอาณาเขตหนึ่งคือ ประเทศไทยตอนล่าง ได้แก่ภาคใต้ทั้งหมด 5.1 ในประเทศไทยตอนบน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนแผ่นดิน มีส่วนที่ติดกับฝั่งทะเลบ้างเล็กน้อยทางตอนใต้ และเนื่องจากเป็นอาณาเขตที่อยู่ในเขตโซนร้อน ดังนั้นอุณหภูมิของอากาศจึงอยู่ในเกณฑ์ สูงเกือบทั่วไป เว้นแต่ทางบริเวณที่อยู่ใกล้ทะเล ระดับอุณหภูมิในตอนบ่ายจะลดลงบ้างเนื่องจาก มีลมทางทะเลพัดเข้ามา ระดับอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในตอนบ่ายสำหรับประเทศไทยตอนบนนั้นจะ เปลี่ยนอยู่ในระหว่าง 33 องศา ซ. ถึง 38 องศา ซ. แต่ในเดือนเมษายนซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดใน รอบปีนั้น อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในระดับสูงมาก เช่น เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2503 อุณหภูมิสูงสุดที่ จังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นถึง 44.5 องศา ซ. แต่ที่กรุงเทพมหานคร อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 39.9 องศา ซ. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2484 ส่วนพิสัยประจำวัน (ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิต่ำที่สุดและสูงที่สุด) ของประเทศไทยตอนบนในช่วงฤดูร้อนจะอยู่ระหว่าง 8 องศา ซ. ถึง 12 องศา ซ. ดังนั้น อุณหภูมิต่ำสุดจึงมีค่าประมาณดังนี้ 5.2 ในประเทศไทยตอนล่างหรือภาคใต้ ระดับอุณหภูมิตลอดทั้งปีไม่สู่จะมีการเปลี่ยนแปลงมาก นัก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นบริเวณที่ติดกับทะเลทั้งสองฝั่ง ระดับอุณหภูมิที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปนั้นไม่ค่อยปรากฏ ความแตกต่างประจำวันของอุณหภูมิต่ำที่สุดและสูงที่สุดของบริเวณนี้มีค่าประมาณ 11.0 องศา ซ. กล่าวคืออุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าจะมีประมาณ 22.0 องศา ซ. และอุณหภูมิสูงสุด ในตอนบ่ายจะมีค่าประมาณ 32.0 องศา ซ. สำหรับอุณหภูมิที่สูงที่สุดนั้นสูงถึง 39.0 องศา ซ. ที่อำเภอบ้านดอน สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2492 และอุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 13.0 องศา ซ. ที่จังหวัดชุมพรเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2486
|
คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่
ตั้งแต่วันพุธที่
28 สิงหาคม พ.ศ. 2545 Copyright(c) 2002TangNingAll rights reserved. |