หุ่นยนต์แบ่งได้กี่ประเภท

  

Homeภูมิประเทศภูมิอากาศ   ทรัพยากรธรรมชาติ

tangowen@chaiyo.com

 

                                                 หุ่นยนต์แบ่งได้กี่ประเภท  

                                                 img13.gif

๑. ลักษณะภูมิประเทศ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตโซนร้อน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียท่ามกลางคาบสมุทรอินโดจีน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕๑๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ประเทศไทยมีอาณาเขตทิศเหนือจดประเทศพม่าและประเทศลาว ทิศตะวันออกจดประเทศลาวและประเทศเขมร ทิศใต้จดทะเลในอ่าวไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย ทิศตะวันตกจดประเทศพม่า ทะเลอันดามัน และช่องแคบมะละกา ประเทศไทยมีฝั่งทะเลยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ ๒,๙๐๐ กิโลเมตร (ดูบทความภูมิศาสตร์ของประเทศไทย)

img14.gif๒. การแบ่งภูมิประเทศตามภูมิอากาศ เพื่อความสะดวกในทางอุตุนิยมวิทยาจึงได้แบ่งภูมิประเทศของประเทศไทยออกเป็น ๕ ภาค ตามลักษณะการผันแปรของภูมิอากาศดังนี้คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งจะเห็นอาณาเขตของแต่ละภาคได้ตามแผนที่แสดงสถานีอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทย

img15.gif๓. ลักษณะภูมิอากาศทั่วไป ภูมิอากาศของประเทศไทยขึ้นอยู่กับลมมรสุมซึ่งพัดตามฤดูกาลต่าง ๆ ดังนี้

๓.๑ ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ คือ ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรอินเดียลมนี้เป็นลมที่ร้อนและชุ่มชื้น (มีไอน้ำมาก) เมื่อพัดเข้าสู่ประเทศไทยจะทำให้มีเมฆมากและมีฝนตกเกือบทั่วไป โดยเฉพาะตามบริเวณชายฝั่งและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น

๓.๒ ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธุ์ จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทย ลมนี้มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน มีคุณสมบัติหนาวเย็นและค่อนข้างแห้ง (มีไอน้ำน้อย) ดังนั้นเมื่อพัดเข้าสู่ประเทศไทยจึงทำให้ประเทศไทยจึงทำให้อากาศในระยะนี้หนาวเย็นเกือบทั่วไป และท้องฟ้าจะค่อนข้างโปร่งเป็นส่วนมาก เว้นแต่ทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ท้องฟ้าจะมีเมฆมากเนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้ เมื่อผ่านน่านน้ำในบริเวณอ่าวไทยก็จะรับเอาไอน้ำไว้ จึงทำให้อากาศมีความชุ่มชื้นมาก และเมื่อลมนี้พัดเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้อากาศจะลอยสูงขึ้นและเย็นลง ทำให้เกิดเมฆและฝนขึ้น

๔. ฤดูกาล ประเทศไทยตอนบน เมื่อพิจารณาตามลักษณะอุตุนิยมวิทยาแล้วสามารถแบ่งฤดูกาลของประเทศไทยออกเป็น ๓ ฤดู ดังนี้คือ

๔.๑ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม (ประมาณ ๕ เดือน) ทั้งนี้จะเห็นชัดเจนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

๔.๒ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธุ์ (ประมาณ ๓ เดือน) ซึ่งเป็นระยะที่อากาศในประเทศไทยจะหนาวเย็นเกือบทั่วไปเว้นแต่ทางภาคใต้ อากาศไม่ค่อยหนาวเย็นนัก และฝั่งตะวันออกของภาคใต้มีฝนตกชุกโดยเฉพาะตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป นับว่าเป็นฤดูฝนของภาคใต้

๔.๓ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธุ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม (ประมาณ ๓ เดือน) ซึ่งเป็นระยะที่มีอากาศร้อนโดยทั่วไป และจะร้อนมากที่สุดในเดือนเมษายน

๕. อุณหภูมิ ประเทศไทยอาจแบ่งออกเป็น ๒ อาณาเขตอย่างกว้าง ๆ คือ ประเทศไทยตอนบนได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกส่วนอีกอาณาเขตหนึ่งคือประเทศไทยตอนล่าง ได้แก่ภาคใต้ทั้งหมด

๕.๑ ในประเทศไทยตอนบน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นผืนแผ่นดิน มีส่วนที่ติดกับฝั่งทะเลบ้างเล็กน้อยทางตอนใต้ และเนื่องจากเป็นอาณาเขตที่อยู่ในเขตโซนร้อน ดังนั้นอุณหภูมิของอากาศจึงอยู่ในเกณฑ์สูงเกือบทั่วไป เว้นแต่ทางบริเวณที่อยู่ใกล้ทะเล ระดับอุณหภูมิในตอนบ่ายจะลดลงบ้างเนื่องจากมีลมทางทะเลพัดเข้ามา ระดับอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในตอนบ่ายสำหรับประเทศไทยตอนบนนั้นจะเปลี่ยนอยู่ในระหว่าง ๓๓ องศา ซ. ถึง ๓๘ องศา ซ. แต่ในเดือนเมษายนซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดใสรอบปีนั้น อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในระดับสูงมาก เช่น เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๐๓ อุณหภูมิสูงสุดที่จังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นถึง ๔๔.๕ องศา ซ. แต่ที่กรุงเทพมหานคร อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ ๓๙.๙ องศา ซ. เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๘๔ ส่วนพิสัยประจำวัน (ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิต่ำที่สุดและสูงที่สุด) ของประเทศ

ไทยตอนบนในช่วงฤดูร้อนจะอยู่ระหว่าง ๘ องศา ซ. ถึง ๑๒ องศา ซ. ดังนั้นอุณหภูมิต่ำสุดจึงมีค่า

ประมาณดังนี้

๕.๒ ในประเทศไทยตอนล่างหรือภาคใต้ ระดับอุณหภูมิตลอดทั้งปีไม่สู่จะมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นบริเวณที่ติดกับทะเลทั้งสองฝั่ง ระดับอุณหภูมิที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปนั้นไม่ค่อยปรากฏ ความแตกต่างประจำวันของอุณหภูมิต่ำที่สุดและสูงที่สุดของบริเวณนี้มีค่าประมาณ ๑๑.๐ องศา ซ. กล่าวคืออุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าจะมีประมาณ ๒๒.๐ องศา ซ. และอุณหภูมิสูงสุดในตอนบ่ายจะมีค่าประมาณ ๓๒.๐ องศา ซ. สำหรับอุณหภูมิที่สูงที่สุดนั้นสูงถึง ๓๙.๐ องศา ซ. ที่อำเภอบ้านดอน สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๙๒ และอุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ ๑๓.๐ องศา ซ. ที่จังหวัด

ชุมพรเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๖

๖. ฝน ในการพิจารณาในประเทศไทยนั้น อาจแบ่งออกเป็น ๒ อาณาเขต เช่น เดียวกับอุณหภูมิ คือ

๖.๑ ฝนในประเทศไทยตอนบน ตลอดฤดูหนาวหรือฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไป เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดเข้ามา

นั้นได้ผ่านผืนแผ่นดินเป็นส่วนมาก เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดเข้ามานั้น ได้ผ่าน

ผืนแผ่นดินเป็นส่วนมาก ประกอบกับมีความหนาวเย็นด้วยจึงทำให้ในช่วงฤดูนี้ไม่ค่อยมีฝน

๖.๒ ฝนในบริเวณประเทศไทยตอนล่างหรือภาคใต้ บริเวณนี้จัดได้ว่าเป็นบริเวณซึ่งมีฝนตกตลอดทั้งปี ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นฤดูที่ประเทศไทยตอนบนแห้งแล้งทั่วไปนั้น ทางภาคใต้จะมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะทางฝั่งทะเลด้านตะวันออก ซึ่งได้แก่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้รับไอน้ำจาก

บริเวณอ่าวไทยและน่านน้ำทะเลใกล้เคียง ทำให้อากาศมีความชุ่มชื้นมาก เมื่อพัดปะทะชายฝั่งด้านนี้จึงทำให้เกิดฝนตกชุกหนาแน่นขึ้น โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจะมีฝนมากกว่าในเดือนอื่น ๆ และในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมอาจมีพายุหมุนจากทะเลจีนใต้เคลื่อนเข้าสู่ฝั่งทะเลแถบนี้ได้อีกด้วย สำหรับฝั่งทะเลด้านตะวันตกซึ่งมีจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ฝนจะเริ่มตกใน ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม

๗. พายุหมุนโซนร้อนหรือพายุไซโคลนในโซนร้อน (ดูเรื่องพายุไต้ฝุ่นในตอนต้น) สำหรับประเทศไทยไม่ค่อยจะได้รับความกระทบกระเทือนจากพายุหมุนที่มีกำลังแรงขนาดพายุไต้ฝุ่น เพราะมีเทือกเขาในประเทศเวียดนามและลาวเป็นกำแพงกั้นไว้ ทำให้กำลังของพายุอ่อนลงเสียก่อนที่จะเข้ามาถึง

ประเทศไทย ซึ่งส่วนมากมีกำลังลดน้อยลงเป็นพายุโซนร้อนหรือพายุดีเปรสชั่น จำนวนพายุหมุนใน

โซนร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในปีหนึ่ง ๆ เฉลี่ยประมาณ ๓ ลูก และจะเริ่มมีโอกาสเข้าสู่ประเทศไทย

ได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม ช่วงที่พายุหมุนโซนร้อนมีโอกาสได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม ช่วงที่พายุหมุนในโซนร้อนมีโอกาสเข้าสู่ประเทศไทยได้มากที่สุดนั้นจะตกประมาณระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม โดยจะมีโอกาสถึงร้อยละ ๒๙ ในเดือน

กันยายน และร้อยละ ๓๔ ในเดือนตุลาคม ส่วนในเดือนอื่น ๆ นั้นมีโอกาสที่จะเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนเป็นส่วนมาก สำหรับในระยะเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนพายุหมุนจะมีกำลังค่อนข้างแรงอยู่ใน

เกณฑ์พายุโซนร้อน เนื่องจากพายุเหล่านี้ยังมีกำลังพร้อมมูลไม่ได้เสียกำลังในการปะทะขอบฝั่งและ

เทือกเขา ดังนั้นเมื่อเข้าอ่าวไทยจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะอาจทำลายเรือต่าง ๆ หรืออาคารบ้านเรือนที่อยู่ตามชายฝั่งรวมทั้งการทำให้เกิดน้ำท่วมโดยฉับพลันได้อีกด้วย

จากสถิติพายุหมุนในโซนร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทย ได้มีพายุหมุนลูกสำคัญ ๆ ที่ก่อความเสียหายใหญ่แก่ประเทศไทย ดังนี้

ในเดือนกันยายน ๒๔๘๕ พายุหมุนในโซนร้อนเข้าสู่ประเทศโดยผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็น

จำนวน ๒ ลูกติดต่อกัน ยังผลให้มีฝนตกหนักหลายแห่งในบริเวณตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไป ทำให้เกิด

อุทกภัยทั่วไป โดยเฉพาะภาคกลางมีระดับน้ำสูงมากและน้ำได้ท่วมเป็นระยะเวลานานร่วมเดือน

ในเดือนตุลาคม ๒๔๙๕ ปรากฏว่ามีพายุหมุนในโซนร้อน ๒ ลูกเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย

ได้ทำความเสียหายโดยมีน้ำท่วมและพายุลมแรง แต่ความเสียหายมีน้อยกว่าในปี ๒๔๘๕

ในเดือนตุลาคม ๒๕๐๕ ได้มีพายุหมุนในโซนร้อนซึ่งมีกำลังขนาดพายุโซนร้อนชื่อ "แฮเรียต" ได้ก่อตัวขึ้นใจแถบปลายแหลมญวนบริเวณหมู่เกาะปูลูกองดอร์ เมื่อวันที่ ๒๔ ต่อมาในวันที่ ๒๕ พายุ

หมุนในโซนร้อนลูกนี้ได้เคลื่อนตัวเข้ามาอยู่ในอ่าวไทย ในวันที่ ๒๖ พายุหมุนลูกนี้ได้เคลื่อนขึ้นฝั่ง

ภาคใต้ของประเทศไทยบริเวณแหลมตะลุมพุกจังหวัดนครศรีธรรมราชและในวันที่ ๒๗ ได้ผ่านภาค

ใต้ลงสู่อ่าวมะตะบันแล้วเคลื่อนตัวต่อไปทางทิศตะวันตกลงสู่อ่าวเบงกอล

พายุหมุนในโซนร้อนลูกนี้ร้ายแรงมาก ได้ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินในประเทศไทยเป็น

จำนวนมาก พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

มีผู้เสียชีวิตประมาณเกือบ ๑,๐๐๐ คน

บ้านเรือนหักพังประมาณ ๔๐,๐๐๐ หลัง

รวมค่าเสียหายทั้งสิ้นประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท

ในปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีพายุโซนร้อนชื่อ "รู้ธ" เคลื่อนตัว

เข้าสู่อ่าวไทย และเคลื่อนขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างจังหวัดชุมพรและ

ประจวบคีรีขันธ์ ลงสู่อ่าวมะตะบัน แล้ววกขึ้นไปทางเหนือเลียบฝั่งประเทศพม่า ทำให้มีฝนตกหนัก

เกือบทั่วไปและทำให้เกิดน้ำท่วมถนนหนทางขาดหลายตอน พายุหมุนในโซนร้อนลูกนี้ทำความเสีย

หายให้แก่

จังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์เสียหายมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ

พายุหมุนในโซนร้อนนับว่าเป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดฝนตกแผ่เป็นบริเวณกว้างและตก

เป็นระยะเวลานานติดต่อกันทำให้แผ่นดินได้รับความชุ่มชื้นทั่วไป ในปีหนึ่ง ๆ ถ้ามีพายุหมุนในโซน

ร้อนเข้าสู่ประเทศไทยเป็นระยะ ๆ โดยไม่ต่อเนื่องกันแล้วก็ย่อมมีผลดีในทางกสิกรรมเป็นอย่างมาก ถ้าปีใดมีพายุหมุนในโซนร้อนเข้ามาน้อยหรือไม่มีเลย ก็ทำให้เกิดฝนแล้งขึ้นได้

 

 

 


คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2002TangNingAll rights reserved.