คาร์โบไฮเดรต
เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี ซึ่งมีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน
และออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ พืชใช้พลังงานจากแสงแดดในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำซึ่งดูดจากดิน
และจะสะสมอาหารในส่วนต่างๆของพืช เช่น เมล็ด ใบ หัว ลำต้น
ชนิดของคาร์โบไฮเดรตมีหลายชนิด จัดเป็นพวกใหญ่ๆได้ดังนี้
น้ำตาลชั้นเดียว (โมโนแซคคาไรด์) มีโมเลกุลเล็กที่สุด
มีรสหวาน และละลายน้ำได้ เช่น กลูโคส ฟรุกโตส(ได้มาจากผลไม้)
กาแลคโตส(ได้มาจากการสลายตัวของแลกโตสในนม)
น้ำตาล 2 ชั้น (ไดแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียว2โมเลกุลมารวมกัน
จึงจัดเป็นน้ำตาล2ชั้น มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส(กลูโคส+ฟรุกโตส)
แลกโตส(กลูโคส+กาแลกโตส) มอลโตส(กลูโคส+กลูโคส)
น้ำตาลหลายชั้น (โพลีแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดียวมากกว่าสองโมเลกุลมารวมกัน
ไม่มีรสหวานและไม่ละลายน้ำ พืชและสัตว์มักเก็บคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลหลายชั้น
เช่น แป้งในพืช ไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลสในพืช
หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต
ให้พลังงานและความร้อน คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ
4 แคลอรี
ช่วยให้การใช้ไขมันในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ ถ้าคาร์โบไฮเดรตมีไม่เพียงพอในอาหาร
การใช้ไขมันในร่างกายจะไม่สมบูรณ์ด้วย
คาร์โบไฮเดรตบางชนิด เช่น กลูโคส เป็นอาหารของเซลล์และเนื้อเยื่อในสมอง
โมเลกุลของกลูโคส ใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนในร่างกาย
ร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่เหลือเป็นไขมันได้
และจะถูกสะสมในร่างกาย ดังนั้นไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
|