|
|
|
ในพืชใบเลี้ยงคู่
แคมเบียมซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญอยู่ระหว่างโฟลเอ็มและไซเลมจะแบ่งเซลล์ให้ทั้ง
โฟลเอ็ม ออกไปทางด้านนอกและไซเลม
เข้าด้านในเมื่อพืชมีอายุมากขึ้น
แคมเบียม
จะแบ่งเซลล์ได้โฟลเอ็มและไซเลมจำนวนมาก
โฟลเอ็มเกิดใหม่จะดันโฟลเอ็มเดิมออกไปทางด้าน
คอร์เทกซ์จนในที่สุดรวมกันกลายเป็นชั้นเปลือกไม้(Bark)
ส่วน ไซเลมใหม่จะดัน
ไซเลมเดิมเข้าไปในชั้นของ พิธ
และเข้าสู่ศูนย์กลางของลำต้นเรื่อยไป
ไซเลมที่เกิดในช่วงที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์
เซลล์จะมีขนาดใหญ่ เรียกว่าสปริงวูด
(Spring wood)
แต่ถ้าไซเลมเกิดในช่วงที่มีน้ำน้อย
คือใ นหน้าแล้งเซลล์จะมีขนาดเล็ก
เรียกว่า ซัมเมอร์วูด (Summer wood)
การที่ไซเลมมีขนาดไม่เท่ากันนี้ทำให้เป็นเนื้อไม้
(Wood) คือ ชั้นตั้งแต่ แคมเบียม
เข้าไปมีขนาดไม่เท่ากัน
วงแคบมีแถบสีเข้ม เป็นช่วงน้ำน้อย
วงกว้าง คือ สีจาง
เป็นช่วงน้ำอุดมสมบูรณ์
สลับกันเมื่อตัดลำต้นตามขวางวงเหล่านี้สามารถนำไปใช้นับอายุพืชได้
เรียกช่องระหว่างไซเลมแคบไปยังไซเลมกว้างว่า
วงปี (Annual ring) |
|
|
|
เนื่องจากการแบ่งตัวของแคมเบียม
ทำให้วงของโฟลเอ็มขยายออกด้านนอกตลอดเวลา
และไซเลมที่อายุมากที่สุดถูกดันเข้าข้างในสู่ศูนย์กลางของลำต้น
หรือรากมากเข้าทุกทีตามอายุที่มากขึ้น
ไซเลม ที่อยู่ด้านในจะมีสารพวกน้ำมัน
กัม เรซินหรือแทนนิน
เข้าไปอุดตันทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้
ไซเลมบริเวณนี้จึงแข็งมากเหลือเพียงหน้าที่ค้ำจุนในขณะเดียวกัน
พาเรงคิมาเริ่มตาย
ดังนั้นบริเวณส่วนในสุดของลำต้นที่ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้จะเรียกว่า
แก่นไม้
ซึ่งมีสีเข้มกว่าและมีความหนาค่อนข้างคงที่ทั้งกระพี้และแก่นไม้รวมกัน
เรียกว่าเนื้อไม้ (Wood) ดังนั้น
ส่วนของเนื้อไม้จึงนับตั้งแต่ไซเลมขั้นที่สองเข้าไปข้างในจนถึงแกนในสุดของลำต้น
ส่วนเนื้อเยื่อตั้งแต่แคมเบียม
ออกมาข้างนอกเรียกว่า เปลือกไม้
(Bark) ซึ่งประกอบด้วย โฟลเอ็ม
คอร์เทกซ์ เอพิเดอร์มิส
แต่ถ้าลำต้นอายุมาก ๆ
เนื้อเยื่อชั้นต่าง ๆ
จะตายและสลายตัวไปจึงเหลือแต่
โฟลเอ็มที่สร้างขึ้นมาใหม่เท่านั้น
การเจริญเติบโต
ขั้นที่สองของพืชใบเลี้ยงคู่
นอกจากจะเกิดจากการแบ่งตัวของแคมเบียมแล้ว
ยังเกิดจากการแบ่งตัวของ
คอร์กแคมเบียม
คอร์กแคมเบียมเกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงของ พาเรงคิมาในชั้น
คอร์เทกซ์ ซึ่งอยู่ใต้ เอพิเดอร์มิส
เปลี่ยนหน้าที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญ
คอร์กแคมเบียมจะแบ่งตัวให้ เซลล์คอร์ก
(Cork cell) หรือ เฟลเลม(Phellem)
ทางด้านนอกและให้เฟลโลเดิร์ม
(Phelloderm) ทางด้านใน
ดังนั้นส่วนของเปลือกไม้จึงประกอบด้วยเนื้อเยื่อเรียงจากชั้นนอกสุดเข้าไปข้างใน
คือ คอร์ก คอร์กแคมเบียม เฟลโลเดิร์ม
(ถ้ายังเหลืออยู่) คอร์เทกซ์
และโฟลเอ็มตามลำดับ |
|
|
|
2.2
การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
โครงสร้างของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวพวก
อ้อย ไผ่ มะพร้าว ข้าวโพดแตกต่าง ๆ
จากพืชใบเลี้ยงคู่
2.2.1 ระบบท่อลำเลียง
เรียงกันกระจัดกระจาย
ไม่เป็นวงรอบลำต้นจึงไม่เห็นขอบเขตระหว่าง
พิธและคอร์เทกซ์
2.2.2
เซลล์ของโพรแคมเบียมเจริญไปเป็นไซเลมและโฟลเอ็ม
ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียม
จึงไม่มีการเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในระหว่างการเจริญเติบโตเพราะไม่มีการเจริญเติบโตขั้นที่สอง
ทำให้ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเจริญทางด้านสูงมากกว่าทางด้านกว้างเนื่องจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มี
วาสคิวลาร์แคมเบียม
จึงไม่มีการสร้างไซเลมขั้นที่สอง
และโฟลเอ็มขั้นที่สองอีก
ท่อลำเลียงชนิดนี้จึงเรียกว่า
มัดท่อน้ำท่ออาหาร “ปิด” (Closed
bundle)
ซึ่งหมายถึงไม่มีการเจริญเติบโตอีกต่อไป
จึงไม่มีการเจริญเติบโตขั้นที่สอง |
|
|
|
ก่อนหน้า
|
หน้าหลัก
|
ถัดไป |
|
|