|
|
|
1.2
การเจริญเติบโตขั้นต้นของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ในลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วน
วาสคิวลาร์บันเดิล
จะเห็นเซลล์ค่อนข้างกลมขนาดใหญ่
ปกติจะมี 2 เซลล์ นั่นคือ
เวสเซลของไซเลม สำหรับโฟลเอ็ม
เซลล์มีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยม
ขนาดเล็กกว่าไซเลม
รวมอยู่ทางด้านบนของกลุ่มไซเลม
ทางด้านล่างของกลุ่ม
วาสคิวลาร์บันเดิลมีส่วนเป็นช่องว่างของช่องอากาศ |
|
|
|
2.
การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้น
(Secondary growth of stem)
2.1
การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
การเจริญเติบโตขั้นที่สองนี้
จะทำให้พืชมีขนาดใหญ่ขึ้นตามเส้นรอบวงขณะเดียวกัน
ทางยอดของพืชก็ยังคงเจริญเติบโตต่อไป
การเจริญเติบโตทางด้านข้างนี้ทำให้พืชเติบโตต่อเนื่องกับการเจริญเติบโตส่วนยอด
และทำให้พืชมีอายุยืนยาวมากขึ้นแม้เซลล์พืชจะมีอายุไม่เกิน
3 ปีการเจริญเติบโตขั้นที่สอง
เป็นการสร้างเนื้อเยื่อลำเลียงขั้นที่สองโดยมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงคือ
การสร้างวาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular
cambium) ซึ่งเกิดจากเซลล์ของ
พิธเรย์ (พิธเรย์เจริญมาจาก กราวด์
เมริสเต็ม)
เนื้อเยื่อเจริญชื่อว่าอินเตอร์ฟาสซิคิวลาร์แคมเบียม
(Interfascicular cambium)
ไปเชื่อมติดกับ
ฟาสซิคิวลาร์แคมเบียม
(ที่อยู่ระหว่างไซเลมขั้นต้น
และโฟลเอ็มขั้นต้น) กลายเป็นวงแหวน
จึงเรียกชื่อใหม่ว่า
วาสคิวลาร์แคมเบียม
ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่
วาสคิวลาร์แคมเบียมยังคง
“เปิด”เพื่อให้มีการเจริญเติบโตขั้นที่สองอีก
จึงเรียกว่ามัดท่อน้ำท่ออาหารชนิดเปิด |
|
|
|
ในพืชพวกไม้เนื้อแข็ง
แคมเบียมจะแบ่งได้เซลล์ 2 ชนิดคือ
ถ้าแบ่งเซลล์ออกด้านนอกจะกลายเป็นโฟลเอ็มขั้นที่สอง
(Secondary pholoem)
และแบ่งเข้าข้างในจะกลายเป็นไซเลมขั้นที่สอง
(Secondary xylem)
ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์ฟาสซิคิวลาร์แคมเบียม
หรือวาสคิวลาร์แคมเบียม
แบ่งเซลล์ได้เหมือนกัน
ดังนั้นจะเห็นว่าไซเลมขั้นที่สอง
และโฟลเอ็มขั้นที่สอง
เมื่อตัดตามขวางแล้วจะเรียงตัวยาวต่อเนื่องเป็นวง
แต่ในลำต้นของพันธุ์ไม้เลื้อยบางชนิด
อินเตอร์ฟาสซิคิวลาร์แคมเบียม
แบ่งเซลล์ให้เซลล์พาเรงคิมา
ทำให้ท่อลำเลียงของมันไม่ต่อเนื่องเป็นวงกลมเหมือนพวกไม้เนื้อแข็งการสร้างไซเลมและโฟลเอ็มจาก
แคมเบียม จะเรียกว่า
เกิดไซเลมขั้นที่สอง
หรือโฟลเอ็มขั้นที่สองเสมอ
ไม่ว่าต้นไม้นั้นอายุกี่ปีก็ตาม
ผลจากการแบ่งเซลล์ของ แคมเบียม
จึงทำให้ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้น
ปกติ
โฟลเอ็มขั้นที่สองมีขนาดเล็กกว่าและผนังบางกว่าไซเลมขั้นที่สองมาก
ไซเลมขั้นที่สองจึงมีความคงทนอยู่และกลายเป็นเนื้อไม้
(Wood) |
|
|
|
ก่อนหน้า
|
หน้าหลัก
|
ถัดไป |
|
|