:: Welcome to Website *_*  ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ::

 
 
  2.2.2 โฟลเอ็ม (Phloem)
โฟลเอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารหรืออินทรีย์สารจากใบไปยังส่วนต่าง ๆของพืช การลำเลียงน้ำทางโฟลเอ็มเรียกว่า ทรานสโลเคชัน (Translocation)
โฟลเอ็มประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ
1) เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) มีอยู่ในกลุ่มของโฟลเอมเช่นเดียวกับไซเลม
2) ไฟเบอร์ (Fiber) เป็นเส้นใยช่วยทำให้โฟลเอ็มแข็งแรง
3) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sieve tube member) เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตรูปร่างยาวทรงกระบอก ด้านสุดปลายทั้งสองของเซลล์มีลักษณะตัดเฉียงบริเวณนี้มี
แผ่นที่มีรูพรุนอยู่ด้วยเรียกว่า ซีฟเพลต (Sieve plate) ในตอนที่เกิดใหม่ซีฟทิวบ์มีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนิวเคลียสและออร์แกเนลล์อื่น ๆ สลายไป แต่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ (ท่อของไซเลม คือ เทรคีดและเวสเซล ขณะที่ทำหน้าที่ลำเลียง เป็นเซลล์ ที่ตายแล้วแต่ท่อของโฟลเอ็มคือ ซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะไม่มีนิวเคลียสแล้วก็ตาม) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์แต่ละเซลล์จะมาเรียงต่อกันเป็นท่อยาว เรียกว่า ซีฟทิวบ์ (Sieve tube)
ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหาร
4) คอมพาเนียนเซลล์ (Companion cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็กอยู่ติดกับซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ความจริงทั้งซีฟทิวบ์เมมเบอร์และคอมพาเนียนเซลล์นั้นเกิดมาจากเซลล์ เดียวกัน เมื่อแบ่งเซลล์ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ เซลล์หนึ่งจะเปลี่ยนเป็นซีฟทิวบ์เมมเบอร์ อีกเซลล์หนึ่งเป็นคอมพาเนียนเซลล์ ซีฟทิวบ์เมมเบอร์อาจมีคอมพาเนียนเซลล์เพียง 1 หรือมากกว่า 1 ก็ได้อยู่ข้าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยเหลือซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ซึ่งไม่มีนิวเคลียสแล้ว เช่น ช่วยขนส่งน้ำตาลเข้ามาในซีฟทิวบ์เมมเบอร์เพื่อส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช และช่วยสร้างเอ็นไซม์ หรือสารอื่นให้กับซีฟทิวบ์เมมเบอร์
 

   
  การจัดระเบียบของต้นพืช
พืชมีท่อลำเลียง ประกอบด้วยระบบราก (Root System) และระบบยอด(Shoot system) ระบบรากช่วยยึดต้นพืชไว้กับดินและซอนไซทะลุลงดิน เพื่อดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ ระบบยอดประกอบด้วยลำต้นและใบ ลำต้นเป็นโครงร่างที่ให้ใบยึดเกาะใบเป็นแหล่งอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง
  ในพืชมีท่อลำเลียง เนื้อเยื่อจัดระเบียบกันเป็นระบบเนื้อเยื่อ (Tissue system)ซึ่งประกอบด้วยระบบเนื้อเยื่อ 3 ชนิดคือ
1. ระบบเนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเชิงเดี่ยว(Simple tissue , เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียว) 3 ชนิดคือ เนื้อเยื่อพาเรงคิมาเซลล์คอลเลงคิมา และเซลล์สเกลอเรงคิมา ซึ่งประกอบด้วย เซลล์พาเรงคิมา และเซลล์สเกลอเรงคิมาตามลำดับ ส่วนใหญ่ของต้นพืชประกอบด้วยเนื้อเยื่อระบบนี้ ทำหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งสังเคราะห์ด้วยแสง เก็บสะสมอาหารและให้ความแข็งแรงแก่ต้นพืช
2. ระบบเนื้อเยื่อลำเลียง (Vasscular tissue system) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อเชิงซ้อน (Complex tissue , เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด) มี 2 ชนิดคือเนื้อเยื่อไซเลมและเนื้อเยื่อโฟลเอ็มที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และแร่ธาตุกับลำเลียงสารอาหารซึ่งการลำเลียงจะติดต่อกันทั่วต้นพืช
3. ระบบเนื้อเยื่อผิว (Dermal tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ปกคลุมต้นพืช ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเชิงซ้อน 2 ชนิด คือ เอพิเดอร์มิส และเพริเดิร์ม (Periderm)เนื้อเยื่อ เพริเดิร์มจะไปแทนที่ เอพิเดอร์มิส และเป็นเปลือกไม้ (Bark) ชั้นนอกของรากและลำต้นที่แก่แล้ว
 

   
 

ก่อนหน้า | หน้าหลัก | ถัดไป