
ปุ๋ย หมายถึง วัตถุใด ๆ ก็ตามที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเมื่อใส่ให้แก่พืชในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและเร็วขึ้น
ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ทั้งหมด 16 ธาตุ ซึ่งบางธาตุพืชต้องการใช้ในปริมาณที่มาก แต่บางธาตุพืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อย โดยทุกธาตุมีความสำคัญต่อพืชเท่าเทียมกัน ธาตุทั้ง 16 ธาตุนั้น คือ
ลำดับที่ |
ชื่อธาตุ |
สัญลักษณ์ |
1 |
คาร์บอน |
C |
2 |
ไฮโดรเจน |
H |
3 |
ออกซิเจน |
O |
4 |
ไนโตรเจน |
N |
5 |
ฟอสฟอรัส |
P |
6 |
โปแตสเซี่ยม |
K |
7 |
แคลเซี่ยม |
Ca |
8 |
แมกนีเซี่ยม |
Mg |
9 |
กำมะถัน |
S |
10 |
เหล็ก |
Fe |
11 |
แมกกานีส |
Mn |
12 |
ทองแดง |
Cu |
13 |
สังกะส |
Zn |
14 |
โบรอน |
B |
15 |
โมดิบดีนั่ม |
Mo |
16 |
คลอรีน |
Cl |
แหล่งที่มาของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 16 ธาตุนั้น พืชจะได้รับมาจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่ง คือ
1. จากน้ำ โดยเหตุที่น้ำเป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน ดังนั้นเมื่อพืชดูดน้ำไปใช้ก็จะได้รับธาตุทั้งสองนี้ไปด้วย
2. จากอากาศ เนื่องจากอากาศประกอบด้วยก๊าซต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งก๊าซออซิเจน (O2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ด้วย ดังนั้นพืชจึงได้รับธาตุออกซิเจน และธาตุคาร์บอนจากอากาศโดยตรง ส่วนธาตุไนโตรเจนนั้นมีเฉพาะพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ที่สามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศได้ ทั้งนี้โดยอาศัยแบคทีเรียที่อยู่ในปมของรากถั่วเป็นผู้กระทำ
3. จากดิน นอกจากธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน ซึ่งพืชจะได้ไปจากดิน โดยธาตุเหล่านี้จะอยู่ส่วนประกอบของแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งเมื่อเกิดการสลายตัวเน่าเปื่อยผุพัง ธาตุเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ซึ่งพืชดูดน้ำไปใช้ได้
|