3.  การกลับสู่สภาพปกติ  เมื่อมีการนำกระแสประสาทผ่านบริเวณใดไปแล้ว ไฟฟ้าที่ผิวนอกเซลล์และผิวด้านในเซลล์กลับสู่สภาพปกติเรียกว่า เกิดรีโพลาไรเซซัน (Repolarization)การถ่ายทอด
กระแสประสาท จากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่ง



                                                         


           การนำกระแสประสาทจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งของร่างกาย โดยการผ่านกระแสประสาทออกทางแอกซอน
ของเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทหนึ่งอีกเซลล์หนึ่งผ่านช่องแคบ ๆ ที่เรียกว่า ไซแนปส์ (Synapse)
การถ่ายทอดแระแสประสาทผ่านไซแนปส์แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ

           1.  ไซแนปส์ไฟฟ้า (Electrical Synapse)   เป็นการถ่ายทอดกระแสประสาทในรูปของกระแสไฟฟ้า
โดยตรงจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้เลย เพราะช่วงไซแนปส์แคบ พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ


           2. ไซแนปส์เคมี  (Chemical Synapse)  เป็นการถ่ายทอดกระแสประสาทในรูปของสารเคมีเกิดกับเซลล์ประสาท
ที่มีช่วงไซแนปส์กว้าง (ประมาณ 200-500 อังสตรอม)  สารเคมีทำหน้าที่นำกระแสประสาทเรียกว่า สารสื่อประสาท
(Neurotransmitter)  ซึ่งถูกสร้างขึ้นที่ถุงเล็ก ๆ ในไซโทพลาซึมตรงบริเวณปลายแอกซอนเราเรียนถุงที่บรรจุสารสื่อประสาทนี้ว่า
Synaptic Vesicle
                 

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 































UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์