การทำงานของเซลล์ประสาท

     1.การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทในเซลล์ประสาท
การทำงานของเซลล์ประสาท  เป็นผลมาจากการกระตุ้นให้มีกระแสประสาทเกิดขึ้นแล้วเคลื่อนที่หรือส่งไปตามเซลล์ประสาท
ที่อยู่ติดกันเป็นวงจรระแสประสาทมีสมบัติเหมือนกระแสไฟฟ้าที่สามารถวัดแรงเคลื่อนออกมาได้เป็นหน่วยมิลลิโวลต์ (mV)
ซึ่งการกระตุ้นให้เกิดกระแสประสาทและการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทนั้น เป็นผลมาจากปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง
ทางไฟฟ้าเคมี (Electrochemical Reaction
)


ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าเคมี (Electrochemical Reaction) ของเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นคือ

      1.  ก่อนถูกกระตุ้น  เซลล์ประสาทก่อนถูกกระตุ้นจะอยู่ในสภาพปกติ คือ ยังไม่มีกระแสประสาทไหลผ่าน
หรืออาจเรียกว่าเป็นระยะพัก (Resting Stage)



                                                     


      2.  เมื่อถูกกระตุ้น  เซลล์ประสาทที่ถูกกระตุ้นด้วยความแรงของสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกระแสประสาทได้เรียกว่า  Threshold
Stimulation  และเมื่อเกิดกระแสประสาทขึ้น แล้วจะเกิดโดยตลอดในอัตราที่สม่ำเสมอ จนถึงปลายแอกซอน
ถึงแม้จะมีแรงกระตุ้นมากขึ้นก็ตามเยื่อหุ้มประสาทบริเวณที่ถูกกระตุ้นจะเปลี่ยนแปลงสมบัติชั่วคราว  โดยภายในเซลล์ประสาท
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าเป็นบวก  และผิวกายนอกเซลล์จะเปลี่ยนเป็นประจุลบเรียกว่าการเกิด ดีโพลาไรเซซัน
การเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าที่ผิวเซลล์นี้จะกินเวลาทั้งหมดเพียง   วินาทีเท่านั้น  และบริเวณนี้ก็จะกลายเป็นจุดเริ่มต้น
ที่จะกระตุ้นให้ใยประสาทบริเวณถัดไปเกิดดีโพลาไรเซซันต่อไป  ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องกันไปตลอดเซลล์ประสาท


                                                          

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 































UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์