|
|
เมื่อเท้าของเราไปสัมผัสกับตะปูที่ร้อนเราจะชักเท้าออกจากตะปูทันที แสดงว่าเซลล์รับความรู้สึกที่
ผิวหนังรับความรู้สึกและสื่อสารไปยังเซลล์ประสาท นำคำสั่งที่อยู่ไขสันหลัง สั่ังการให้เซลล์กล้ามเนื้อที่ขา
หดตัวยกขาออกจากตะปู แสดงว่าเซลล์ที่อยู่ไกลกันสามารถสื่อสารกันได้โดยที่เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เมื่อรับความรู้สึก ก็จะมีการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทไปตามใยประสาท เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่ไปที่ปลายแอกซอนของใยประสาท ก็จะมีการปล่อยสารสื่อประสาทจากเซลล์หนึ่งส่งต่อให้อีกเซลล์หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับปลายแอกซอน โดยที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทตัวรับจะมีโปรตีนซึ่งเป็นตัวรับสารสื่อประสาท
การสื่อสารโดยใช้ฮอร์โมนก็เป็นอีกตัวอย่างของการสื่อสารของเซลล์ที่อยู่ไกลกัน โดยเซลล์จาก
ต่อมไร้ท่อจะส่งสารเคมีไปตามระบบหมุนเวียนเลือด ไปยังเซลล์ของอวัยวะเป้าหมาย
จากที่กล่าวมาแล้วจะเป็นว่ากระบวนการสื่อสารระหว่างเซลล์มี 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การรับสัญญาณ (reception) หมายถึง การที่เซลล์เป้าหมายรับสัญญาณ (signal)
จากภายนอกเซลล์ โดยโปรตีนตัวรับซึ่งอยู่บริเวณผิวของเซลล์เป้าหมาย จับตัวกับโมเลกุลของสารเคมีที่หลั่งออกมาจากเซลล์อื่น เช่น ฮอร์โมน สารสื่อประสาท ถ้าเป็นสเตรอยด์ ตัวรับสัญญาณจะอยู่ภายในเซลล์
2. การส่งสัญญาณ (signal transduction) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบสัญญาณ เมื่อโมเลกุลของฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทจับกับโปรตีนตัวรับ ทำให้โปรตีนตัวรับเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งสัญญาณ
3. การตอบสนอง (response) เป็นขั้นตอนที่เซลล์เป้าหมายแสดงกิจกรรมต่างๆ ตอบสนองต่อสัญญาณที่ได้รับ เช่น การหลั่งสารออกจากเซลล์ การจัดเรียงตัวของไซโทสเกเลตอน ทำให้เซลล์เปลี่ยนรูปร่าง การตอบสนองของเซลล์มีความจำเพาะต่อสารเคมี เพราะเซลล์ต่างชนิดกันมีโปรตีนที่เป็นตัวรับต่างชนิดกัน การตอบสนองจึงขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีนตัวรับของเซลล์นั้นๆ สิ่งสำคัญในการตอบสนองต่อสัญญาณ คือ ความสามารถของโปรตีนตัวรับในการเปลี่ยนรูปร่างกลับไปมาได้ เพื่อให้พร้อมที่จะตอบสนองเมื่อได้รับสัญญาณใหม่ |
|
|