|
|
|
คลอโรพลาสต์(chloroplast) |
พลาสติดเป็นออร์แกเนลที่มีเยื้อหุ้ม 2 ชั้นพบเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น สาหร่าย ยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน พลาสติดจำแนกตามลักษณะของเม็ดสี แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นพลาสติดที่มีสีเขียวเนื่องจากมีสารคลอโรฟิลล์เป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่ เป็นแหล่งสร้างอาหารของเซลล์พืชและโพรทิสต์บางชนิด ภายในคลอโรพลาสต์มีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงแบนๆที่มีเยื่อหุ้มเรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylakoid) และ ไทลาคอยด์เรียงซ้อนกันเรียกว่า กรานุม (granum) แต่ละกรานุมมีโครงสร้างเชื่อมต่อถึงกัน บนไทราคอยด์มีสารสีที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น คลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) และมีของเหลวที่เรียกว่า สโตรมา (stroma) อยู่โดยรอบไทลาคอยด์ ในของเหลวนี้มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะด้วยแสง
2.โครโมพาสต์ (chromoplast) เป็นพลาสติด์ที่มีสารที่ทำให้เกิดสีต่างๆยกเว้นสีเขียว ทำให้ดอกไม้ ผลไม้และใบไม้ มีสีสันสวยงาม เช่น ผลสีแดงของพริก รากของแครอท และใบไม้แก่ๆเนื่องจากมีสารพวกแคโรทีนอยด์ จึงทำให้เกิดสีแดง สีส้ม และสีเหลือง
3.ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) เป็นพลาสติต์ที่ไม่มีสี มีหน้าที่สะสมเม็ดแป้งที่ได้จากการสังเคราะห์แสง พบในเซลล์ของรากและเซลล์ที่สะสมอาหาร เช่น มันเทศ มันแกว เผือก กล้วยและใบพืชบริเวณที่ไม่มีสี
|
|
|