ผลกระทบของภาวะโลกร้อน
|
ภาพถ่ายพายุเฮอริเคนแคทรีนา (Catarina) ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งประเทศบราซิล
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีรายงานว่า
เกิดพายุเฮอริเคนในตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก |
นอกจากปัญหาการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว
ภาวะโลกร้อนยังเป็นสาเหตุให้บางพื้นที่เกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลให้
ปริมาณน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่งทั่วโลกลดลง เกิดความอดอยากเนื่องจากผลผลิต
ทางการเกษตรตกต่ำลง
จากการศึกษาของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติพบว่า ผลผลิตข้าวจะลดลงร้อยละ 15 เมื่อ
อากาศร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียส ในทวีปแอฟริกานักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าภายใน
สิ้นศตวรรษนี้น้ำในแม่น้ำต่างๆจะมีปริมาณลดลงร้อยละ 25 อันจะส่งผลกระทบต่อ
ภาคการเกษตรและการประมง ผู้คนกว่า 20 ล้านคนจะไม่มีอาหารพอเลี้ยงชีพสัตว์ป่า
หลายชนิดจะขาดแคลนแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และอาจส่งผลให้สัตว์ป่าในแอฟริกา
ตั้งแต่นกไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้องสูญพันธุ์
ความแห้งแล้งยังก่อให้เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรงทั่วโลก ตั้งแต่ป่าในสหรัฐอเมริกา
ป่าแอมะซอนในบราซิล ไปจนถึงป่าในออสเตรเลีย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเกิดไฟไหม้ป่าฝน
เขตร้อนในประเทศอินโดนีเซีย รุนแรงขึ้นทุกปี พื้นที่ป่าเสียหายถึง 12 ล้าน 5 แสนไร่ ขณะที่
ฤดูร้อนปี ค.ศ. 2003 คลื่นความร้อนอย่างรุนแรงได้แผ่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป
ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 35,000 คน
ภาวะโลกร้อนยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพายุหมุนในทะเลถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นพายุเฮอริเคน ไซโคลน และพายุไต้ฝุ่น ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
เมืองที่อยู่ตามชายฝั่งจะได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของพายุบ่อยครั้ง
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005 พายุเฮอริเคนแคทรีนา (Katrina) ได้พัดถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์
ในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างย่อยยับมีผู้เสียชีวิตนับพันคนและในปีก่อนหน้านั้น พายุไต้ฝุ่น
ถึง 10 ลูกได้พัดถล่มเกาะญี่ปุ่นมากเป็นประวัติการณ์จากที่เคยทำสถิติปีละ 7 ลูก เช่นเดียวกับ
พายุไซโคลนที่พัดถล่มประเทศออสเตรเลียอย่างรุนแรง ไม่แพ้ประเทศในแถบทะเลจีนใต้
ที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้าถล่มเกือบ 20 ลูกในช่วงปีที่ผ่านมาจากเดิมที่มีเฉลี่ยปีละ 10 ลูก
ภาวะโลกร้อนยังทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ตั้งแต่ประเทศจีน
ญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย พม่าบังกลาเทศจนถึงอินเดียเช่นที่เมืองมุมไบประเทศอินเดียใน
เดือนกรกฎาคม 2005 วัดปริมาณน้ำฝนได้ถึงระดับ 37 นิ้วภายใน 24 ชั่วโมง
|
ภาพถ่ายพายุเฮอริเคนแคทรีนา (Catarina) ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งประเทศบราซิล
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีรายงานว่า
เกิดพายุเฮอริเคนในตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก |
ผลกระทบสำคัญอีกประการคือการระบาดของเชื้อโรคชนิดต่างๆเนื่องจากแมลงหลายชนิดที่
เป็นพาหะสำคัญของเชื้อโรคมีการกระจายพันธุ์ได้ดีขึ้น อาทิ อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้วงจรชีวิต
ของยุงมีระยะสั้นลงและยุงยังสามารถอพยพไปอยู่ในที่ที่เคยมีอากาศเย็นได้ภูเขาหลายแห่ง
และพื้นที่ที่ไม่เคยมียุงมาก่อนกลับพบว่ามียุงแพร่กระจายเข้าไป ส่งผลให้เกิดการระบาดของ
โรคมาลาเรียอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์พบว่า ทุกวันนี้มีผู้ได้รับเชื้อมาลาเรียประมาณ 500ล้านคนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่านับจากเมื่อปีค.ศ.1990โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้และ
ทวีปแอฟริกาขณะที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นถึงปีละ15ล้านคนโดยส่วนใหญ่เป็น
เด็กและมีการคำนวณว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น1 องศาเซลเซียส จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรค
ไข้เลือดออกเพิ่มสูงถึงร้อยละ 47 นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าพบการระบาดของ
โรคไข้เลือดออกเป็นครั้งแรกในเทือกเขาแอนดีสประเทศชิลียังไม่นับรวมการระบาดของโรค
หลายชนิด อาทิไข้อหิวาต์ไข้สมองอักเสบ ฯลฯ และการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืช
ที่เป็นต้นเหตุของการทำลายพืชผลการเกษตรทั่วโลกองค์การอนามัยโลกประมาณว่าในแต่ละปี
ประชากร 160,000 คนป่วยตายจากโรคที่มีผลมาจากภาวะโลกร้อนอุตสาหกรรมประกันภัยก็
ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาบริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินชดเชย
ให้แก่่่ความเสียหายจากภัยพิบัติอันเป็นผลจากภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นพายุ น้ำท่วม ความแห้งแล้งการกัดเซาะชายฝั่ง สูงถึง 15 เท่าบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ
ได้คำนวณว่า ในปี ค.ศ. 2050 ความเสียหายจากภาวะโลกร้อนจะมีมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐและสำหรับประเทศทวีปเอเชียอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่ง เป็นตัวทำรายได้สำคัญของประเทศจะได้รับความเสียหายมากที่สุด
|