ยินดีต้อนรับทุกท่าน....เข้าสู่บทเรียนออนไลน์ จัดทำขึ้นโดยทีม " วิ้วว้าว " ในหัวข้อเรื่อง " ระบบนิเวศ " ในเว็บไซต์นี้จะมีัเนื้อหาสาระ ความรู้มากมาย..ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ


ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  |  สาเหตุของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     คำว่าสิ่งแวดล้อม ถ้าให้แต่ละคนนึก บางคนก็อาจจะนึกถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป  เช่น  บางคนอาจจะนึกถึงน้ำในแม่น้ำลำคลองที่เน่าเสีย  น้ำขุ่นข้นด้วยโคลนตมและขยะมากมาย จะใช้อาบหรือใช้ดื่มกินเหมือนแต่ก่อนนั้นไม่ได้บางคนอาจจะบอกว่าปัจจุบันดินที่ใช้ปลูกพืช
นั้นเสียเพาะปลูกพืชก็ไม่เจริญเติบโต  บางคนอาจจะนึกถึงอากาศที่หายใจในชุมชนที่แออัด ไม่สดชื่นเหมือนในชนบทในที่ที่มีทุ่งนา ป่า เขาโล่งกว้าง  ที่มีผู้คนอยู่กันไม่มากนักเพราะกลิ่น ที่ไม่สดชื่นนั้นมีกลิ่นเหม็นของขยะที่มนุษย์นำมากองสุมกันไว้ และยังมีกลิ่นเหม็นจากควันรถยนต์และ
จักรยานยนต์  นอกจากนั้นก็มีเขม่าและควันไฟจากปล่องของโรงงานอุตสาหกรรมอีกมากมาย
เหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา

    คงยังจำกันได้ถึงน้ำท่วมและลมพายุในภาคใต้  ซึ่งทำให้ผู้คนตลอดจนวัว ควาย สัตว์เลี้ยงล้ม
หายตายจากเป็นจำนวนมาก  แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยพลิกคว่ำ และเรือกสวนไร่นาล่มเสีย
หาย  ครั้น พ.ศ. 2533  น้ำไหลบ่ามาท่วมภาคกลางเป็นเวลานาน  ทำลายบ้านเรือน ถนนหนทาง สะพาน และพืชผัก  ตลอดจนข้าวปลาอาหาร  น้ำมากมายมหาศาลนี้มาจากไหน  ทำไมจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และลมพายุแรงที่ไม่เคยพบเคยเห็นอีกเล่า หรือเป็นเพราะเราช่วยกันตัดไม้ทำลายป่า
และทำให้สิ่งแวดล้อม เป็นพิษคนละไม้คนละมือคำตอบก็ถือว่าป่าไม้ที่หายไปและพิษภัยในสิ่งแวด
ล้อมเริ่มแสดงผลเป็นปัญหาในวงกว้างเกินกว่าที่เคยคิดกันไว้  ไกลจากตัวเราออกไป กระทบต่อเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมโลก  แล้วย้อนกลับมากระทบตัวเราด้วยในที่สุด

     มนุษย์เราช่วยกันสร้างมลพิษขึ้นมา  จนกระทั่งทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้เสียไปใช่
หรือไม่ถ้าใช่แล้วใครจะเป็นผู้แก้ไขสภาพแวดล้อมที่เสียไปให้กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นได้ คำตอบที่
ทำได้และทำง่ายที่สุดก็คือทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้จะทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษลดลงได้มากในวันข้างหน้า  ถ้าทุกคนเห็นด้วย พร้อมและเต็มใจที่จะช่วยกันลดมลพิษในสิ่งแวดล้อมจงปฏิบัติดังวิธีการต่อไปนี้
    1.  ช่วยกันปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ในบริเวณบ้าน  โรงเรียน  สวนสาธารณะ และ  ตามถนนหนทางทั่วไป
    2.  ทิ้งขยะให้เป็นที่ คือทิ้งลงในถังขยะ  ไม่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง และจงกำจัดขยะให้ถูก วิธี
    3.  ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด  อย่าเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ หรือใช้เกินจำเป็นเพราะมีผลกระทบต่อการ ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับบางประการมาสู่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้เช่นกัน
    4.  เลือกใช้ของอย่างประหยัด  เพราะนอกจากต้องซื้อหามาแล้ว  ในการผลิตยังใช้พลังงาน อีกไม่น้อย  เมื่อทิ้งขว้างก็กลายเป็นของเสีย  เกิดพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นจนจบ จึงควรคิดให้รอบคอบเสียก่อนทุกคราวไป ดังนั้นขวดแก้วใส่น้ำหวานได้หลายต่อหลายครั้งจึงดีกว่ากระป๋อง  เพราะเราทิ้งกระป๋องเป็นขยะทุกครั้ง  แต่เราเอาขวดมาล้างแล้วใช้ใหม่ได้
    5.  ชักชวนกันใช้ของธรรมชาติ  เช่น  ใบตอง  ดีกว่าของทำเทียมขึ้นมา  ซึ่งได้แก่  ถุง พลาสติก  กล่องโฟมเก็บความร้อนหรือความเย็น  เพราะช่วยลดภัยในสิ่งแวดล้อมในระหว่างการผลิตและเมื่อทิ้งเป็นขยะ
    6.  ควบคุมการผลิตและการใช้สารมลพิษซึ่งมีผลกว้างไกล  เช่น  น้ำยาบางชนิดในเครื่องทำความเย็นน้ำยาดับเพลิงแบบใหม่ (ฮาลอน)  เป็นต้น

     สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราที่มีปริมาณมากมายมหาศาลสุดที่จะนับได้ ได้แก่  ดิน น้ำ อากาศ พืช  สัตว์  คน และสารต่าง ๆ  ซึ่งมีมากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์  นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็น  แต่ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ได้แก่  พลังงานต่าง ๆ  เช่น  พลังงานความร้อน  แสง  เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า  เป็นต้น  เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมเสียหรือเป็นพิษหมายความว่าสภาพของสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์  ในปัจจุบันเรามักจะได้ยินที่กล่าวกัน ว่า  ดินเสีย  น้ำเสีย  อากาศเป็นพิษและแสง  เสียงเป็นพิษ

    สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น
            1.  มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่ากันมากขึ้น
            2.  มนุษย์เผาเชื้อเพลิงตามบ้านเรือน และตามโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
            3.  มนุษย์ผลิตสารสังเคราะห์บางอย่างที่ไม่สลายตัว และสลายตัวยากมากขึ้น  เช่น พลาสติก  โฟม  จึงทำให้เกิดขยะเหล่านี้มากขึ้น  ส่วนสารบางอย่างที่เป็นก๊าซ  เช่น  ฟรีออน  ซึ่งใช้ช่วยในการฉีดสเปรย์ และใช้ในเครื่องทำความเย็น  ก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศฟุ้งกระจายทั่วไป  ซึ่งจะไปทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ และมีผลกระทบทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
            4.  มนุษย์สร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ  เช่น  ใช้ ไฟเบอร์กลาสแทนไม้  ใช้ฟรีออนแทนแอมโมเนียเหลวในตู้เย็น และใช้ผงซักฟอกแทนสบู่  เป็นต้น  เมื่อใช้แล้วมีสิ่งตกค้างเป็นมลพิษอยู่ในอากาศ  ในน้ำ และในดิน  ทำให้เกิดผลเสียหายต่อพืช  สัตว์และมนุษย์ด้วยกันเองในที่สุด
            5.  มนุษย์สร้างอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่ให้ความร้อน  แสง  เสียง  ที่ทำให้เกิด อันตรายต่อมนุษย์ได้มากขึ้น
            6.  มนุษย์สร้างยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง  เช่น  จักรยานยนต์  รถยนต์ และยานอวกาศ เพื่อออกไปสำรวจอวกาศภายนอกโลกมากขึ้น  ก๊าซที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง  ได้แก่  ออกไซด์ของไนโตรเจนและคาร์บอนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศ


ที่มา : http://www.pt.ac.th