งานแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ
ที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาล เหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน
มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาติให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา
3 เดือนคือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน
11 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ประชาชนจะนำเทียนไปถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฮลียวแลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้ง
ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น
แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน
ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน
เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์
เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต
จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน
การแห่เทียนในยุคแรกๆชาวบ้านจะร่วมบริจาคเทียน
แล้วนำเทียนมามัดติดกับลำไม้ไผ่ติดกระดาษเงินสีทองตัดลายฟันปลามาติดปิดรอยต่อ
เสร็จแล้วนำต้นเทียนมัดติดกับปิ๊บน้ำมันก๊าด โดยใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนลากจูง
และมีขบวนฟ้อนรำด้วยต่อมาได้มีการหล่อดอกจากผ้าพิมพ์แล้วมีการประยุกต์ประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปแกะสลักสัตว์
ลายไม้ฉลุทำให้ต้นเทียนดูสวยงามมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นประชาชนก็เห็นความสำคัญประเพณีแห่เทียนมากขึ้น
จังหวัดก็ได้ส่งเสริมให้เป็นงานประจำปีในช่วงนั้นมีการประกวดต้นเทียน
2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสี
กับประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น การทำต้นเทียนก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ
จนมาถึงการแกะสลักลงบนต้นเทียนโดยตรง ซึ่งเป็นการแกะที่ต้องอาศัยฝีมือเป็นอย่างยิ่ง
ต่อมาประเพณีแห่เทียนพรรษาจึงได้จดการประกวด3
ประเภท โดยเพิ่มประเภทแกะสลักลงบนต้นเทียนลงไป
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาได้รับการส่งเสริมจากทางจังหวัดมากขึ้น
จนทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ
ทำให้งานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบลเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
เดินทางมาเที่ยวกันมากมาย
|