|
|
|
พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้นพบทั้งที่ขณะเป็นตัวเต็มวัยแล้ว และตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบม้จะพบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้องไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อนซึ่งพบฝฝังตัวอยู่บริเวณเหงือก และอวัยวะภายในต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลาว่ายน้ำ ทุรนทุรายลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำ ผอมเหงือกบวม อาจมองเห็นจุดขาวๆ คล้ายเม็ดสาคูขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือกได้ และปลาจะทยอยตายเรื่อยๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติอาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้ส่วนพยาธิใบไม้ตัวอ่อนพบมากในปลา จีน ดุก นิล สวายและปลาสวยงามอีกหลายชนิดที่เลี้ยงในบ่อที่มีการใส่ปุ๋ยคอกเพื่อทำให้เขียว
การป้องกันรักษา 1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมาถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอกควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนใช้ และควรกำจัดหอย ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเสริมในการระบาดของพยาธิชนิดนี้ครบวงจร โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร หลังจากจับปลาขึ้นขายทุกครั้ง 2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรืดกำจัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา |
จัดทำโดยครูบุญชู
สังวาลวงศ์
โรงเรียนโสภณศิริราษฎร์ อ. วัดเพลง จ.ราชบุรี
Copyright (c) 2004 Mrs.B
Sa All rights reserved.
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
thaigoodview.com Version
12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2004 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.